- เพิ่มโลแคลภาษาไทย (th_TH.utf8), ตั้ง timezone โดยต่างจากของเดิมคือเพิ่ม --no-archive ตอน localedef เพราะเมื่อติดตั้งบน nand flash แล้วไม่สามารถเพิ่มโลแคลไทยลงใน archive ได้
localedef --no-archive -f UTF-8 -i th_TH th_TH.utf8
echo "LANG=th_TH.utf8" > /etc/sysconfig/i18n
rm /etc/localtime
ln -s /usr/share/zoneinfo/Asia/Bangkok /etc/localtime
echo "CLOCKMODE=GMT" > /etc/sysconfig/clock - เพิ่มบรรทัดต่อไปนี้เข้าไปที่แฟ้ม /usr/lib/xulrunner-1.8.0.4/defaults/pref/xulrunner.js
pref("font.minimum-size.th", 11);
pref("font.default.th", "sans-serif");
pref("intl.accept_languages", "th,en-us,en");
pref("intl.charset.default","TIS-620");
สิ่งที่แก้จากเดิมคือลดขนาดฟอนต์ไทยลง จาก 13 เหลือ 11 - ปรับคอนฟิกแป้นพิมพ์ในแฟ้ม /etc/X11/xorg.conf ดังนี้
Option "XkbLayout" "us,th"
Option "XkbVariant" "olpc2,olpc,tis"
Option "XkbOptions" "grp:rctrl_toggle"
สิ่งที่เปลี่ยนไปจากเดิมคือ เปลี่ยนการสลับแป้นพิมพ์เป็น right control ซึ่งจริงๆ บนแป้นของแล็ปท็อปไม่มี แต่เราจะ map ปุ่มสลับภาษาให้เป็นปุ่ม right ctrl แทน ซึ่งจะในข้อต่อไป - แก้ไขแฟ้ม /usr/share/olpc/keycodes/olpc-evdev ดังนี้
หาบรรทัด
<RCTL> = 105;
แก้เป็น
alias <RCTL> = <AB11>;
โดยทุกครั้งที่บูตเครื่อง แฟ้มนี้จะถูกคัดลอกไปทับแฟ้ม /usr/share/X11/xkb/keycodes/evdev คงเพราะยังต้องการใช้แพกเกจเดียวกับ Fedora แต่ต้องการปรับแก้เพียงบางส่วน
ผลที่เกิดจากการแก้ไขตรงนี้คือ AB11 หมายถึงปุ่มสลับไทยอังกฤษที่อยู่ใต้แป้น enter ถูก alias จาก RCTL ซึ่งก็คือปุ่ม right ctrl ทำให้การกดแป้นนี้ มีผลเท่ากับกดแป้น right ctrl ซึ่งในที่นี้จะทำให้สลับแป้นไทย-อังกฤษได้
ถ้ามีการอัพเดทแพกเกจแล้วสลับแป้นไทยอังกฤษไม่ได้ แสดงว่าแฟ้มที่เราแก้ไข ถูกอัพเดททับ ให้แก้ไขโดยแก้แฟ้มนี้ใหม่อีกครั้ง - ปรับลดค่า DPI เพื่อให้ฟอนต์มีขนาดเล็กลง โดยจากการทดลอง คิดว่าค่านี้ น่าจะลงตัวที่สุด โดยแก้แฟ้ม /etc/X11/xorg.conf
หาบรรทัด
DisplaySize 152 114
แก้เป็น
DisplaySize 240 180
บล็อกนี้จบเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับภาษาไทยและการแสดงผลก่อน เดี๋ยวมาต่อตอนหน้าครับ
กว่าจะคอนฟิกเสร็จ และเขียนบล็อกเสร็จ เค้าก็ออก image 239 มาซะแล้ว แต่คิดว่าคงยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากนักหรอกนะ รอนิ่งๆ เดี๋ยวโหลดมาทดสอบอีกสักรอบ
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น