วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
แลปท็อป $100 ตัวแรกเดินทางถึงสำนักงานใหญ่ OLPC
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา แลปท็อปเครื่องแรก รุ่น B1 ได้เดินทางมาถึงสำนักงานใหญ่ OLPC ที่แคมบริดจ์ ซึ่งตัวนี้เป็น 1 ใน 10 ตัวแรก ที่ผลิตขึ้นด้วยมือเพื่อตรวจสอบการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆ ที่ประกอบเข้าด้วยกันว่าทำงานได้ถูกต้องทุกส่วน ทดสอบความเข้ากันได้ของทั้งระบบ และให้แน่ใจในขั้นตอนกระบวนการผลิตจริง
หลังจากนี้อีกราว 1 อาทิตย์ Quanta ก็จะเริ่มผลิตอีก 900 เครื่อง เพื่อนำมาทดสอบความทนทาน และส่งมอบให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งจำนวนหนึ่งจะถูกส่งมาที่ประเทศไทยด้วย แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะได้กี่เครื่อง อย่างน้อยก็ 2-3 เครื่องจะมาแน่ๆ
ถือว่าใกล้ความจริงเข้าไปทุกขณะละครับ ผมเองก็อยากให้ถึงวันที่เครื่องทดสอบรุ่นนี้มาถึงไวๆ :-)
ลิงก์:
http://wiki.laptop.org/go/B1_Pictures
http://www.olpcnews.com/prototypes/xo/olpc_first_pictures.html
http://www.engadget.com/2006/11/15/olpcs-xo-1-gets-its-first-unboxing/
ความเจ็บปวดทำให้เราแกร่งขึ้น
ทุกครั้งที่เกิดวิกฤต นั่นแปลว่าบททดสอบบทใหม่ได้มาถึงแล้ว เมื่อเราก้าวผ่านมันไปได้ เราจะเข้มแข็งขึ้น
และนี่คือบททดสอบบทใหม่ http://blognone.com/openletter และผมต้องย้ำเช่นเดียวกับคนอื่นๆ คือ ขอให้อ่านให้เข้าใจ หากเห็นด้วยกับเนื้อหาในจดหมาย ก็โปรดลงชื่อจริง นามสกุล และสังกัด
บ่อยครั้ง ในวิกฤตก็มีโอกาส เช่นครั้งนี้ ผมว่าเป็นการเช็คชื่อคนใช้/สนับสนุนโอเพนซอร์สครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาเลยทีเดียว อีกโอกาสหนึ่งคือ สื่อให้ความสนใจปรากฏการณ์นี้ (บ้าง) ก็เป็นโอกาสให้เราได้ส่งเสียงให้มวลชนรับรู้ความมีตัวตนของพวกเรา
ยังไงก็ขอให้ลงเอยด้วยสมานฉันท์ครับ
วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
Ubuntu 6.10 - gtk-im-xim Bug
ราวๆ ต้นเดือน พ.ย. มีผู้ใช้ Ubuntu 6.10 แจ้งมาว่า เมื่อใช้ OOo บน Ubuntu ตัวนี้ เมื่อพิมพ์เครื่องหมาย double quote ที่บรรทัดใด บรรทัดนั้นจะมีปัญหาการพิมพ์สระบนล่างของภาษาไทยไม่ได้ ก็ได้ทดสอบกันดูพบว่าเป็นจริงๆ คิดว่าเป็นที่ Input Method เพราะ OOo เองก็พยายามจะจัดการเอง รวมไปถึงอินพุทภาษาไทยด้วย ในขณะที่ GTK ก็มี gtk-im ซึ่งก็มีตัวที่จัดการอินพุทภาษาไทยด้วย ก็คือ gtk-im-libthai ในระดับ X ก็มี XIM เช่นกัน ซึ่งมีส่วนที่จัดการกับข้อมูลอินพุทภาษาไทยด้วยเช่นกัน
ต่อไปนี้เป็นกรณีทดสอบต่างๆ เพื่อคลำหาสาเหตุ
ต่อไปนี้เป็นกรณีทดสอบต่างๆ เพื่อคลำหาสาเหตุ
วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
แนะนำข้อเขียนเกี่ยวกับ OLPC ภาษาไทย
วันนี้คุณมาร์คเอาบล็อกชี้แจงข่าวของผมไปลง blognone อีกที เลยได้ลิงก์ไปอ่านข้อเขียนของ ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ เกี่ยวกับ OLPC หลายตอนทีเดียว (ยังอ่านไม่หมด เดี๋ยวพรุ่งนี้อ่านต่อ) ดร.ธวัชชัยมีความเห็นเชิงบวกค่อนข้างมากกับโครงการนี้ โดยที่ท่านไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งจะต่างกับผม เพราะผมคือคนทำงานในโครงการ "จำเป็น" ต้องมองทางบวกเสมอ ต้องเชื่อมั่นในโครงการ เพื่อให้ทำงานได้ดีที่สุด (ถ้าไม่มองอย่างนี้ ก็อย่ามาทำเลย จริงไหม) แม้ว่าโครงการนี้ จะเสมือนว่ายังไม่มีตัวตนจริงๆ ในไทยก็เหอะนะ
ให้ผมเขียน ก็คงเขียนไม่ได้อย่างนี้ (อย่างน้อยคงไม่เร้าอารมย์เท่า) คงถนัดนำเสนอเรื่องทางเทคนิคต่อไปดีกว่า ก็แนะนำให้ไปอ่านกันครับ เผื่อใคร search มาเจอเรื่อง OLPC ที่เว็บผม จะได้ไปอ่านข้อมูลที่มีประโยชน์นี้ต่อ
ลิงก์ไว้อีกที: http://gotoknow.org/blog/averageline/tag/OLPC
ให้ผมเขียน ก็คงเขียนไม่ได้อย่างนี้ (อย่างน้อยคงไม่เร้าอารมย์เท่า) คงถนัดนำเสนอเรื่องทางเทคนิคต่อไปดีกว่า ก็แนะนำให้ไปอ่านกันครับ เผื่อใคร search มาเจอเรื่อง OLPC ที่เว็บผม จะได้ไปอ่านข้อมูลที่มีประโยชน์นี้ต่อ
ลิงก์ไว้อีกที: http://gotoknow.org/blog/averageline/tag/OLPC
วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
Linux กับ software RAID part I
เดิมผมค่อนข้างเชื่อมั่นกับ hardware RAID (แท้ๆ) มากกว่า ด้วยว่าเคยใช้งานมัน ชอบที่มันทำงานที่ระดับล่างไปเลย และเชื่อว่า hardware RAID ทำงานเร็วกว่า software RAID และทราบว่าจะจัดการกับมันอย่างไรเมื่อดิสก์มีปัญหา อีกอย่างคือสะดวกดี ไม่ต้องทำอะไรที่ตัว OS คือ ทำ volume RAID เสร็จแล้ว OS จะมองเห็นเป็นฮาร์ดดิสก์ลูกใหญ่ๆ ลูกเดียว
พอดีว่าเครื่องพีซีที่บ้าน จะลง Gentoo ใหม่อยู่แล้ว ก็มีโจทย์ว่า Gentoo มันต้องคอมไพล์อะไรๆ ใหม่ค่อนข้างบ่อย และสังเกตว่า มันคอมไพล์ช้าเพราะดิสก์ ถ้าทำ raid-0 ได้ก็คงช่วยได้มาก เลยศึกษาเกี่ยวกับ software RAID บน Linux ดีๆ ก็พบว่า มันก็น่าใช้เหมือนกันนะ มันยืดหยุ่นกว่าด้วย และเรื่องประสิทธิภาพเค้าก็บอกว่าด้วยประสิทธิภาพอันเหลือเฟือของคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบัน ทำให้ software RAID มีประสิทธิภาพไม่ด้อยกว่า hardware RAID เลย
พอดีว่าเครื่องพีซีที่บ้าน จะลง Gentoo ใหม่อยู่แล้ว ก็มีโจทย์ว่า Gentoo มันต้องคอมไพล์อะไรๆ ใหม่ค่อนข้างบ่อย และสังเกตว่า มันคอมไพล์ช้าเพราะดิสก์ ถ้าทำ raid-0 ได้ก็คงช่วยได้มาก เลยศึกษาเกี่ยวกับ software RAID บน Linux ดีๆ ก็พบว่า มันก็น่าใช้เหมือนกันนะ มันยืดหยุ่นกว่าด้วย และเรื่องประสิทธิภาพเค้าก็บอกว่าด้วยประสิทธิภาพอันเหลือเฟือของคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบัน ทำให้ software RAID มีประสิทธิภาพไม่ด้อยกว่า hardware RAID เลย
Thai Keyboard Layout บนแลปท็อป $100
ภาพจาก http://wiki.laptop.org/go/Image:Thai-keyboard.jpg
ภาพ layout ของแป้นพิมพ์ภาษาไทย ของแลปท็อป $100 วาง layout ตามมาตรฐาน มอก.802.2538 ซึ่งทำให้สามารถพิมพ์อักษรพิเศษได้ เช่น ๏ ๛ อ๎ ส่วนตัว ฿ ๅ ฅ ฃ ย้ายสลับที่กันเล็กน้อย ที่เหลือก็เรียงแป้นตาม มอก.802.2533 หรือ เกษมณี ตามปกติ ถ้าแลปท็อปนี้ถูกผลิตเพื่อใช้ในประเทศไทย ก็คงเป็นคอมพิวเตอร์ล็อตแรก ที่มีแป้นพิมพ์มาตรฐานใหม่ หลังจากออกมาตรฐานมาแล้วกว่า 11 ปี
วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ลาป่วย 9-10 พ.ย. 49
เป็นคออักเสบ (อีกแล้ว) ครับ มีอาการเจ็บคอตั้งแต่วันเสาร์ที่ 4 แล้วละ แต่ยังไม่แรงมาก มาเมื่อเย็นวันพุธ เจ็บมากขึ้น มีเสมหะ เลยรู้ว่าอักเสบแน่แล้ว เมื่อวานเลยหยุดงาน ไปหาหมอ ก็รับยามาทาน ยังไม่มีอาการไข้ แต่ทานยาดักไว้ก่อน เพราอักเสบแรงๆ แล้วไข้ขึ้นทุกที
วันนี้อักเสบหนักขึ้น แสบคอเลย ตัวร้อนเล็กน้อย เลยหยุดอีกวันดีกว่า สองวันนี้เลยถือโอกาสติดตั้ง Gentoo ในเครื่อง PC ที่บ้านใหม่ หลังจากที่ใช้วิธีอัพเกรดมาตลอด จนพักหลังชักมั่วๆ ก็คงเหลือเพียงเครื่องเดียวที่ยังใช้ Gentoo อยู่
วันนี้อักเสบหนักขึ้น แสบคอเลย ตัวร้อนเล็กน้อย เลยหยุดอีกวันดีกว่า สองวันนี้เลยถือโอกาสติดตั้ง Gentoo ในเครื่อง PC ที่บ้านใหม่ หลังจากที่ใช้วิธีอัพเกรดมาตลอด จนพักหลังชักมั่วๆ ก็คงเหลือเพียงเครื่องเดียวที่ยังใช้ Gentoo อยู่
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
ปรับแต่งฟอนต์ไทยบน Ubuntu Part II
จากตอนที่แล้ว ยังมีสิ่งที่อยากแก้ 2 อย่าง ได้แก่
ในภาค 2 นี้ก็จะแก้ไขที่ทำไปแล้วจากภาคแรกบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการทำเพิ่มเติม ดังนี้
- ไม่ควรเอาคอนฟิกที่สร้างเอง ไปใส่ใน /etc/fonts/conf.d/ น่าจะคอนฟิกให้กับ user ก่อน เพื่อที่จะได้แก้ไขปรับแต่งได้ง่ายๆ
- การแสดงภาษาไทยยังไม่สวยงาม เพราะฟอนต์ไทยชุดนี้ไม่มี hinting
ในภาค 2 นี้ก็จะแก้ไขที่ทำไปแล้วจากภาคแรกบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการทำเพิ่มเติม ดังนี้
วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
'switch' จาก FreeBSD ไป Debian
9 ปีเต็มๆ ที่ผมมีความเชื่อมั่นความสามารถของ FreeBSD เป็นอย่างมาก เพราะ FreeBSD เป็น OS แบบ Unix ตัวแรก ที่ผมศึกษาและใช้งานอย่างจริงจัง หลังจากผิดหวังอย่างแรงจาก Red Hat 4.x (ใส่ .x ไปก่อน เพราะจำไม่ได้ว่า .เลขอะไร จำได้แต่ว่าก่อน 5.0 นิดนึง) สมัยนั้น Linux ไม่สามารถเทียบชั้นกับ FreeBSD ได้เลย ไม่ว่าจะเป็น performance, ความ stable, ความสามารถ (เช่น การรองรับขนาดไฟล์ใหญ่กว่า 2 GB) โดยเฉพาะเรื่องของ network และ security ที่ผมถือว่าเด่นมากๆๆ และได้เอาไปใช้งานจริงก็คือเอาไปเซ็ตอัพให้ร้านเน็ตหลายร้านในขอนแก่น โดยอาศัยจุดเด่นเรื่องของ usermode ppp ซึ่งทำให้การต่อเน็ตแชร์กันเป็นเรื่องง่ายๆ และขยายไปถึงการต่อแบบ multi-link ppp "แท้ๆ" ซึ่งทำได้บน usermode ppp ตัวเดิม ขณะที่ฝั่ง Linux ผมยังงงๆ กับ pppd, ipchain, eql และที่สำคัญ ตอนนั้น Linux ยังไม่มี multi-link ppp ??
การปรับแต่งฟอนต์ไทยบน Ubuntu
คุณ tongdee ซึ่งเป็น Ubuntu User คนนึง ถามถึงเรื่องการปรับฟอนต์ไทยให้สวยงามบน Firefox บน Ubuntu พอดีพึ่งได้วิธีการที่ไปค้นพบเอาตอนไปทำ OLPC Localization ที่บอสตัน เลยเอามาบล็อกไว้ละกัน
ภาพตัวอย่างที่คุณ tongdee ส่งมาให้ดู
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)