วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

ปัญหา ID3 tag ภาษาไทย

ปัญหาหนึ่งของการใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ที่ใช้เอ็นโค้ดดิ้งแบบยูนิโค้ด เช่นในดิสโตรทั่วไปในปัจจุบันก็คือ การถอดรหัสข้อมูลใน ID3 tag ในแฟ้ม mp3 โดยปัญหาคือ ซอฟต์แวร์ (เช่น totem, banshee ซึ่งล้วนแล้วแต่ใช้ gstreamer) อ่านข้อมูล ID3 tag ออกมาโดยเข้าใจว่าข้อมูลในนั้นเข้ารหัสด้วย ISO-8859-1 แล้วแปลงมาเป็น UTF-8 เพื่อแสดงผล ซึ่งทำให้แสดงเป็นรหัสที่ไม่ใช่ภาษาไทย

ปัญหานี้ไม่พบในแฟ้มประเภท ogg และ mp4 เนื่องจาก tag ในแฟ้ม ogg และ mp4 เป็นยูนิโค้ดอยู่แล้ว เพราะเกิดในยุคใหม่ ในขณะที่แฟ้ม mp3 เกิดนานแล้ว แรกๆ เลยต้องเลี่ยง ไปใช้ซอฟต์แวร์ที่กำหนดให้ระบุเอ็นโค้ดดิ้งได้ เช่น beep media player ไปก่อน

อย่างไรก็ตาม

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

spam เข้าข่ายการกระทำความผิดแล้ว แต่...

ออกตัวไว้ก่อนว่า รังเกียจวิธีการที่สแปมเมอร์ทำเอามากๆ (ไม่ได้รังเกียจสแปมเมอร์นะ แต่รังเกียจ "วิธีการ")

เคยอ่านร่างพรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มารอบหนึ่งเมื่อราวๆ 1-2 ปีก่อน ยังติดใจอยู่ว่า ไม่มีการกล่าวถึงสแปมเลยสักมาตรา ทำเอาผิดหวังอยู่เหมือนกัน แต่พอประกาศพรบ.แล้ว มาลองอ่านดู พบว่ามีแล้ว อยู่ในมาตรา ๑๑

มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

TLE-Live

ช่วงนี้กระแส Live กำลังมาแรง ประกอบกับราคา usb drive ถูกลงมากๆ ล่าสุด ซื้อ 4 GB มาในราคา 1,1xx บาท เท่านั้น แม้ว่าจะไม่ใช่รุ่นที่อ่านเขียนได้เร็วนักก็เหอะ ได้มาวันแรกๆ ก็ลองกับ LinuxTLE 8.0 บนนั้นดู ก็ติดตั้งได้ บูตได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ปกติ ติดที่ช้าหน่อยเท่านั้น โดยรวม ก็ยังไม่น่าประทับใจนัก

ทางแก้ก็คือ ใช้เทคโนโลยีของ embeded ช่วย คือการบีบอัด file system เพื่อให้ขนาดรวมเล็กลง ทำให้อัตราการอ่านข้อมูลดีขึ้น ก็เลยค้นหาดูว่ามีใครใช้เทคนิคอะไรใหม่ๆ บ้าง ก็ไปเจอ http://www.linux-live.org/ ซึ่งเค้าทำเพื่อใช้กับ slax โดยเฉพาะ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ได้กับดิสโตรใดๆ ด้วย เลยเอาสคริปต์นี้เป็นจุดเริ่มต้น