เป็นที่รู้กันว่าลินุกซ์ไม่กลัวไวรัสของวินโดวส์ บ่อยครั้งที่ให้คนอื่นยืม usbdrive แล้วได้ไวรัสกลับมาด้วย แต่ไม่ค่อยรู้หรอก แถมยังใช้งานได้ตามปกติ รู้อีกทีคือเมื่อให้คนอื่นยืม usbdrive ไป แล้วเค้าก็เอากลับมาให้พร้อมบอกว่า สงสัยเครื่องเรามีไวรัสนะเพราะใน usbdrive มีไวรัสอยู่ ซึ่งจริง ๆ ในเครื่องผมไม่มีหรอก เพราะใช้ Ubuntu แต่ไวรัสมาจากใครก็ไม่รู้เหมือนกัน เผลอ ๆ กลายเป็นว่าเราเป็นพาหะซะงั้น เพราะเราไม่ได้รับอันตรายจากไวรัส แต่มีไวรัสใน usbdrive แบบไม่รู้ตัว หลายคนอาจจะติดไวรัสเพราะไดรว์ของผมก็ได้
วิธีที่ผมใช้แก้ปัญหาการถูกกล่าวหาว่าเป็นพาหะคือ format usbdrive ใหม่เป็น ext3 ซะ ไม่ต้องใช้กับเครื่องที่เป็นวินโดวส์ จบ เหลือตัวเก่า 256M ไว้เป็น vfat ซึ่งก็ต้องคอยเช็คบ่อย ๆ ว่ามีไฟล์ autorun.inf โผล่มาหรือเปล่า
วันนี้เอาไดรฟ์ 256M ตัวที่ว่านี่ไปเสียบเครื่องที่เป็น Ubuntu 8.04 มันก็มีข้อความขึ้นเตือนทำนองว่าไดรฟ์เรามี autorun.inf ที่จะไปรันโปรแกรมบางตัวขึ้นมาทำงาน ซึ่งอาจจะเป็นไวรัสหรือโทรจันได้ เลยแปลกใจว่า 1) เอ่อ ไปติดมาตอนไหนอีกแล้วนี่ และ 2) เฮ่ย เดี๋ยวนี้ Nautilus มันเจ๋งแฮะ เตือนแบบนี้ได้ด้วย นั่นแปลว่า ต่อไปนี้ผู้ใช้ลินุกซ์ก็จะไม่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพาหะนำไวรัสคอมพิวเตอร์อีกต่อไป
ข้อความที่แสดงเมื่อพบแฟ้มผิดปกติ จริง ๆ linux มันไม่รัน autorun.inf อยู่แล้วนิ (หรือรัน?) แต่ก็ดีแล้วเพราะจะได้รู้ว่ามีไวรัส
แฟ้มแปลกปลอมที่โผล่มา ตัวนี้เจอบ่อย สงสัยติดมาจากร้านที่ไปอัดรูป
ตอน browse ก็ยังมีเตือนตรงส่วนบนแบบนี้ด้วย
ปล. ณ ตอนนี้ผมยังไม่ได้ดูว่าฟีเจอร์นี้ใช่ฟีเจอร์หนึ่งที่จะมาพร้อมกับ Gnome 2.22 หรือเปล่านะครับ
วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2551
วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551
Installing Ubuntu 8.04 20080318.1 (hardy)
ขณะที่กำลังเขียนนี้ กำลังติดตั้ง Ubuntu 8.04 20080318.1 อยู่ครับ โดยติดตั้งลงอีกพาร์ทิชัน แต่ติดตั้งตัว 32bit ไปก่อน ไว้ออกตัวจริง ค่อยอัปเกรด 7.04 64bit เป็นตัวเต็มแล้วกัน ระหว่างรอเลยมานั่ง blog ที่เครื่องคนอื่นไปพลาง
พาร์ทิชันที่ติดตั้งนั้น เดิมเป็นพาร์ทิชันวินโดวส์ XP 64bit รุ่นทดลอง ขอไลเซนส์ได้จาก Microsoft ครับ ดาวน์โหลดฟรี ใช้ได้ประมาณ 4 เดือนมั๊ง ตอนนั้นเอามาลงเพราะพึ่งได้โน๊ตบุ๊คตัวนี้มาใหม่ ๆ เป็น AMD64 เลยบ้าหาอะไรที่เป็น 64bit มาลง ทั้ง Windowx XP x64 และ Ubuntu for amd64 ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ค่อยได้บูตเข้ามาใช้เท่าไหร่ พอไม่ค่อยได้บูตเข้าวินโดวส์ทำให้ทุกครั้งที่เข้า จะน่าเบื่อมาก เพราะมันจะต้องมีอะไรมาอัปเดตเยอะแยะไปหมดสิน่า ทั้งข้อมูลไวรัส ทั้งอัปเดตจากไมโครซอฟท์เอง สุดท้ายก็ปล่อยให้ไลเซนส์หมดอายุไป ทิ้งพาร์ทิชันขนาด 30G ไว้ไม่ได้ใช้งานมาตั้งนาน
ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะเอามาลงเร็วขนาดนี้ แต่วันนี้เจอปัญหาใน Ubuntu ตัวเดิม เหมือนจะมีโปรแกรมบางตัว หรืออาจจะ kernel เอง ที่ถือครองหน่วยความจำเยอะเกินไป แบบบูตมาปุ๊บ RAM หายไป 700 กว่าเม็ก ซึ่งปกติมันจะใช้ประมาณ 300MB เมื่อบูตเสร็จ (แรม 1GB ครับ) แล้ว swap ก็จะทำงานตลอด ทำอะไรไม่ได้นอกจากบูตใหม่ อาการนี้จะเป็นบ่อย ถ้าปล่อยให้ notebook เข้าสู่ sleep mode อีกประการคือรู้สึกว่า Ubuntu 7.10 มันช้ากว่ารุ่นก่อน ๆ นี้อย่างเห็นได้ชัด ไม่ได้คิดไปเอง แต่ MrChoke ก็รู้สึกแบบเดียวกัน วันนี้ MrChoke ลง Debian (Lenny) บอกว่าเร็วกว่าเห็น ๆ (ชักติดใจละสิ) ประการสุดท้ายคือ Ubuntu รุ่นนี้ใกล้เป็นเบต้าแล้ว คิดว่าน่าจะเสถียรพอ อย่างน้อยเอามาใช้งานจริง เพื่อช่วยกันหาบั๊กก่อนจะออกตัวเต็ม
ตอนนี้ติดตั้งใกล้เสร็จแล้ว ไว้ลองเล่นแล้วคงมีอะไรมาเล่าเพิ่มเติมครับ
พาร์ทิชันที่ติดตั้งนั้น เดิมเป็นพาร์ทิชันวินโดวส์ XP 64bit รุ่นทดลอง ขอไลเซนส์ได้จาก Microsoft ครับ ดาวน์โหลดฟรี ใช้ได้ประมาณ 4 เดือนมั๊ง ตอนนั้นเอามาลงเพราะพึ่งได้โน๊ตบุ๊คตัวนี้มาใหม่ ๆ เป็น AMD64 เลยบ้าหาอะไรที่เป็น 64bit มาลง ทั้ง Windowx XP x64 และ Ubuntu for amd64 ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ค่อยได้บูตเข้ามาใช้เท่าไหร่ พอไม่ค่อยได้บูตเข้าวินโดวส์ทำให้ทุกครั้งที่เข้า จะน่าเบื่อมาก เพราะมันจะต้องมีอะไรมาอัปเดตเยอะแยะไปหมดสิน่า ทั้งข้อมูลไวรัส ทั้งอัปเดตจากไมโครซอฟท์เอง สุดท้ายก็ปล่อยให้ไลเซนส์หมดอายุไป ทิ้งพาร์ทิชันขนาด 30G ไว้ไม่ได้ใช้งานมาตั้งนาน
ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะเอามาลงเร็วขนาดนี้ แต่วันนี้เจอปัญหาใน Ubuntu ตัวเดิม เหมือนจะมีโปรแกรมบางตัว หรืออาจจะ kernel เอง ที่ถือครองหน่วยความจำเยอะเกินไป แบบบูตมาปุ๊บ RAM หายไป 700 กว่าเม็ก ซึ่งปกติมันจะใช้ประมาณ 300MB เมื่อบูตเสร็จ (แรม 1GB ครับ) แล้ว swap ก็จะทำงานตลอด ทำอะไรไม่ได้นอกจากบูตใหม่ อาการนี้จะเป็นบ่อย ถ้าปล่อยให้ notebook เข้าสู่ sleep mode อีกประการคือรู้สึกว่า Ubuntu 7.10 มันช้ากว่ารุ่นก่อน ๆ นี้อย่างเห็นได้ชัด ไม่ได้คิดไปเอง แต่ MrChoke ก็รู้สึกแบบเดียวกัน วันนี้ MrChoke ลง Debian (Lenny) บอกว่าเร็วกว่าเห็น ๆ (ชักติดใจละสิ) ประการสุดท้ายคือ Ubuntu รุ่นนี้ใกล้เป็นเบต้าแล้ว คิดว่าน่าจะเสถียรพอ อย่างน้อยเอามาใช้งานจริง เพื่อช่วยกันหาบั๊กก่อนจะออกตัวเต็ม
ตอนนี้ติดตั้งใกล้เสร็จแล้ว ไว้ลองเล่นแล้วคงมีอะไรมาเล่าเพิ่มเติมครับ
วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551
Google Reader Shared Items + ReadBurner
เมื่อวานอ่าน feed เจอว่า Alexander Marktl ผู้พัฒนาเว็บไซต์ readburner.com ประกาศยุติเว็บไซต์แล้ว ทั้ง ๆ ที่เพิ่งเปิดมาได้เพียง 2 เดือน เสียดายมาก ๆ เห็นว่า Marktl ไม่สามารถเจียดเวลามาดูแลได้ เนื่องจากเป็นเพียงงานที่ทำในเวลาว่าง ที่จริง ตอนที่รู้จัก ReadBurner ครั้งแรก (ผ่าน lifehacker.com) ก็ตั้งใจว่าจะเขียนถึงสักครั้งหนึ่ง เนื่องจากเป็นไอเดียใหม่ที่เจ๋งมาก ก็ขอใช้โอกาสนี้กล่าวถึงละกัน
ราว ๆ ปลายปี 2550 Google Reader มีฟีเจอร์ใหม่ ให้ผู้ใช้สามารถ share feed item กันได้ คือชอบ feed item ไหน อยากให้เพื่อนรู้ด้วย ก็คลิก share ได้เลย เพื่อน ๆ ใน gtalk ของเรา ที่ใช้ Google Reader เหมือนกัน ก็จะเห็น item ที่เพื่อนคนอื่น share ไว้ แบบนี้
ผลคือการอ่าน feed สนุกขึ้นมาก เพราะอย่างที่รู้ ๆ กันว่า feed วันนึง ๆ มี item เยอะมาก และบางอันที่น่าสนใจเราดันไม่ได้ subscribe ไว้อีก แต่เพื่อน ๆ เราอาจจะมี ก็ได้มา share ให้เราอ่านด้วย feed item ที่ถูก share ผมก็จะอ่านก่อน เพราะถ้าเขา share มาแปลว่ามันน่าสนใจจริง ๆ ก็ทำให้ประหยัดเวลาไปได้พอสมควร ส่วนคนที่ไม่ได้ add เป็นเพื่อนไว้ ถ้าเค้ามี shared item url ก็สามารถเอามา subscribe ไว้อ่านได้
เช่นของผมเข้าไปดูได้ที่ http://www.google.com/reader/shared/06070222257138471631 หรือถ้าต้องการสมัคร feed ไว้อ่านใน Google Reader ก็มีลิงก์ให้ในหน้านี้
การอ่าน feed บน Google Reader เลยกลายเป็น Social Network อีกแบบ
ReadBurner จับเอาฟีเจอร์การ share ของ Google Reader มาเล่น โดยเสนอให้ผู้ใช้ Google Reader เอา share url มาใส่ในเว็บ โดยไม่ต้องสมัครสมาชิก จากนั้น ReadBurner จะคอยตรวจสอบดูว่า feed ไหนที่เป็นที่นิยมในแต่ละวัน หรือสัปดาห์ โดยดูจากจำนวนการ share เท่านั้น ไม่ต้องโหวตแบบ digg ซึ่งเป็นลูกเล่นที่เจ๋งมาก ผู้ใช้แค่อ่าน feed และ share อันที่ตัวเองชอบ เท่านั้นก็เป็นการโหวต feed ยอดนิยมได้ทันทีโดยอัตโนมัติ ซึ่งแนวคิดแบบ FeedBurner ก็ถูกลอกเลียนอย่างรวดเร็ว เช่น Shared Reader หรือ RSSMeme แต่ในความคิดของผม คิดว่าไม่มีอันไหนสู้ ReadBurner ต้นตำรับได้
หลังจากประกาศยุติ ReadBurner แล้ว Marktl ก็แนะนำว่าถ้าชอบไอเดียของ ReadBurner ก็ให้ลองเปลี่ยนไปใช้ RSSMeme (developed by Benjamin Golub) ซึ่งเป็น clone ของ ReadBurner ที่เขาคิดว่าดีที่สุด ซึ่งผมก็ได้ไปลองดูแล้ว ถือว่า ok ละ แต่อันนี้มาแปลกหน่อย คือนอกจากจะไม่มีการสมัครสมาชิกเหมือนกับ ReadBurner แล้ว ก็ยังไม่มีช่องให้เพิ่ม feed ด้วย แต่ค้นดูแล้วปรากฎว่ามัน add shared items ของผมไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่รู้มาได้ไงเหมือนกัน อาจจะเพราะเคยเพิ่มไว้ใน ReadBurner มาก่อน ประเด็นการไม่ให้เพิ่ม feed นี้ก็เคยคิดเหมือนกันว่า กรณี ReadBurner ให้ใครก็ได้ เพิ่ม feed เข้าไปในระบบได้เอง อาจจะทำให้เกิดการสร้าง account ใน google reader หลอก ๆ มาปั่นคะแนนความนิยมก็ได้ ในกรณีของ RSSMeme ถ้าไม่พบชื่อตัวเองในระบบ ก็ให้เมลไปแจ้งเขาได้ โดยส่ง shared items url ไป
ส่วนโดเมน readburner.com และเทคโนโลยีที่ Marktl คิดค้นพัฒนาขึ้นเค้าก็ประกาศขายแล้วครับ คงรอดูกันต่อไปว่า จะมีใครซื้อทั้งสองอย่างนี้ไปดำเนินการต่อหรือเปล่า ขอให้มีเถอะ ถ้าหายไปเฉย ๆ นี่เสียดายมาก
ราว ๆ ปลายปี 2550 Google Reader มีฟีเจอร์ใหม่ ให้ผู้ใช้สามารถ share feed item กันได้ คือชอบ feed item ไหน อยากให้เพื่อนรู้ด้วย ก็คลิก share ได้เลย เพื่อน ๆ ใน gtalk ของเรา ที่ใช้ Google Reader เหมือนกัน ก็จะเห็น item ที่เพื่อนคนอื่น share ไว้ แบบนี้
ผลคือการอ่าน feed สนุกขึ้นมาก เพราะอย่างที่รู้ ๆ กันว่า feed วันนึง ๆ มี item เยอะมาก และบางอันที่น่าสนใจเราดันไม่ได้ subscribe ไว้อีก แต่เพื่อน ๆ เราอาจจะมี ก็ได้มา share ให้เราอ่านด้วย feed item ที่ถูก share ผมก็จะอ่านก่อน เพราะถ้าเขา share มาแปลว่ามันน่าสนใจจริง ๆ ก็ทำให้ประหยัดเวลาไปได้พอสมควร ส่วนคนที่ไม่ได้ add เป็นเพื่อนไว้ ถ้าเค้ามี shared item url ก็สามารถเอามา subscribe ไว้อ่านได้
เช่นของผมเข้าไปดูได้ที่ http://www.google.com/reader/shared/06070222257138471631 หรือถ้าต้องการสมัคร feed ไว้อ่านใน Google Reader ก็มีลิงก์ให้ในหน้านี้
การอ่าน feed บน Google Reader เลยกลายเป็น Social Network อีกแบบ
ReadBurner จับเอาฟีเจอร์การ share ของ Google Reader มาเล่น โดยเสนอให้ผู้ใช้ Google Reader เอา share url มาใส่ในเว็บ โดยไม่ต้องสมัครสมาชิก จากนั้น ReadBurner จะคอยตรวจสอบดูว่า feed ไหนที่เป็นที่นิยมในแต่ละวัน หรือสัปดาห์ โดยดูจากจำนวนการ share เท่านั้น ไม่ต้องโหวตแบบ digg ซึ่งเป็นลูกเล่นที่เจ๋งมาก ผู้ใช้แค่อ่าน feed และ share อันที่ตัวเองชอบ เท่านั้นก็เป็นการโหวต feed ยอดนิยมได้ทันทีโดยอัตโนมัติ ซึ่งแนวคิดแบบ FeedBurner ก็ถูกลอกเลียนอย่างรวดเร็ว เช่น Shared Reader หรือ RSSMeme แต่ในความคิดของผม คิดว่าไม่มีอันไหนสู้ ReadBurner ต้นตำรับได้
หลังจากประกาศยุติ ReadBurner แล้ว Marktl ก็แนะนำว่าถ้าชอบไอเดียของ ReadBurner ก็ให้ลองเปลี่ยนไปใช้ RSSMeme (developed by Benjamin Golub) ซึ่งเป็น clone ของ ReadBurner ที่เขาคิดว่าดีที่สุด ซึ่งผมก็ได้ไปลองดูแล้ว ถือว่า ok ละ แต่อันนี้มาแปลกหน่อย คือนอกจากจะไม่มีการสมัครสมาชิกเหมือนกับ ReadBurner แล้ว ก็ยังไม่มีช่องให้เพิ่ม feed ด้วย แต่ค้นดูแล้วปรากฎว่ามัน add shared items ของผมไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่รู้มาได้ไงเหมือนกัน อาจจะเพราะเคยเพิ่มไว้ใน ReadBurner มาก่อน ประเด็นการไม่ให้เพิ่ม feed นี้ก็เคยคิดเหมือนกันว่า กรณี ReadBurner ให้ใครก็ได้ เพิ่ม feed เข้าไปในระบบได้เอง อาจจะทำให้เกิดการสร้าง account ใน google reader หลอก ๆ มาปั่นคะแนนความนิยมก็ได้ ในกรณีของ RSSMeme ถ้าไม่พบชื่อตัวเองในระบบ ก็ให้เมลไปแจ้งเขาได้ โดยส่ง shared items url ไป
ส่วนโดเมน readburner.com และเทคโนโลยีที่ Marktl คิดค้นพัฒนาขึ้นเค้าก็ประกาศขายแล้วครับ คงรอดูกันต่อไปว่า จะมีใครซื้อทั้งสองอย่างนี้ไปดำเนินการต่อหรือเปล่า ขอให้มีเถอะ ถ้าหายไปเฉย ๆ นี่เสียดายมาก
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)