วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547

Kamthorn Weekly Newsletter #5

อาทิตย์ที่ผ่านมากิจกรรมเยอะหน่อย แถมคาบเกี่ยวจนไม่มีเวลาเขียน blog จนวันนี้แหละครับ จดหมายข่าวฉบับนี้เลยออกสายไปหนึ่งวัน

งาน Thailand Linux Expo

  • จัดพร้อมๆ กับงาน Goverment ICT เมื่อวันที่ 23-24 มิ.ย. 2547 ที่ผ่านมานี้เอง สรุป... ในส่วนงานสัมมนา ดูเหงาๆ คนน้อยกว่าที่คาดไว้ ส่วนชั้นฟลอร์ที่จัดแสดงนิทรรศการ กลับคึกคักกว่าอย่างเห็นได้ชัด คนสนใจ เข้าพูดคุยก็เยอะดี
  • มีเรื่องหน้าแตกด้วย ตอนที่มีการบรรยายในวันแรก ผมได้ติดตามเจ้านายเข้าไปในห้องบรรยายด้วย เพื่อไปเตรียมเครื่องโน๊ตบู๊ก ปรากฏว่า ที่ห้องนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่เทคนิคอยู่เลย เลยต้องอยู่ช่วยพิธีกรเค้าด้วย เช่นต่อสายไฟ เปิดเครื่องฉาย ทีนี้เรื่องหน้าแตกคือ พอเจ้านายผมพูดเสร็จ ก็มีวิทยากรจากสิงคโปร์ มาบรรยาย ก็แน่นอนว่าสปีคอิงลิชครับ ผมก็ไปช่วยแกต่อสายไฟอีก แล้วแกบรรยายไปได้สัก 30 นาที ปรากฏว่าแบตฯ โน๊ตบุ๊กแกจะหมด อ้าว! ไฟไม่เข้าครับ แกบอกว่า ที่โฮเต็ลก็ยังใช้ได้ตามปกติ สงสัยที่นี่ไม่มีไฟ ซึ่งก็แปลก เพราะตอนเจ้านายผมบรรยายก็ใช้ได้ตามปกติ ทีนี้แกเลยชี้มาทางโต๊ที่เจ้านายผมนั่งอยู่ แล้วพูดอะไรบางอย่าง พอจะกระดิกหูฟังได้ว่า จะยืม "โน๊ตบุ๊ก" อ๊ะ ไม่มีปัญหา ผมเลยลงไปจะหยิบโน๊ตบุ๊กตัวเมื่อกี้ ที่เจ้านายผมใช้บรรยาย แล้วแกก็ลงตามมาแล้วบอก "โนๆ" แล้วเดินไปหยิบ เอกสารประกอบการสัมมนา ที่ผู้จัดงานพิมพ์แจกคนเข้าสัมมนาเป็นเล่มๆ น่ะครับ เพื่อจะได้บอกให้คนฟังดูตาม แล้วแกจะบรรยายตามเอกสารเล่มนั้น โห "โน๊ตบุ๊ก" จำไว้เลยๆ

ReInstall LTN

  • 24 ก.ค. 2547 7:45 mrchoke แจ้งว่าคุณอ็อทเมล์มาบอก เรื่อง LTN โดนเจาะ อยากให้ใครช่วยไปติดตั้งระบบใหม่ให้หน่อย ตอนนั้นกำลังจะเดินทางไปงาน Thailand Linux Expo วันที่สอง เลยได้แต่คิดว่าจะทำยังไงดี เพราะแผ่น debian ก็ไม่ได้เตรียม เลยคิดว่า ยังไงก็ไปที่งานก่อน แล้วค่อยแว๊บไปทำให้ก็คงได้ ไปหาเครื่องมือเอาข้างหน้า
  • 8.30 ขณะอยู่บนรถตู้ กำลังเดินทาง ดร.โกเมน (ThaiCERT) โทรฯ หา แจ้งเรื่องคุณอ็อทเมล์แจ้งเรื่อง LTN เหมือนกัน โดยบอกว่าให้พาชอง--น้องที่ ThaiCERT ซึ่งจะไปที่งาน Linux Expo เหมือนกัน ไปด้วยเพื่อวิเคราะห็ล็อกไฟล์ เผื่อจะเก็บข้อมูลและตามรอยได้
  • 9.00 ถึงงาน Linux Expo ช่วยประสานงานให้พี่ตุ้มกับพิธีกรเรื่องการแจกจ่ายแบบสอบถาม ก็พอดีชองมาถึง สัมมนาไม่ต้องไปฟังมันแล้ว ออกไปลุยกันเลยดีกว่า พอดีพี่สมเดชอาสาว่า จะพาไปที่ตึกบางกอกไทยที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์ ในความดูแล ของ สบทร.
  • พอไปถึง ทาง สบทร. ก็ทักว่ามาทำเครื่อง LTN เหรอ และแจ้งว่าคุณอ็อทโทรมาด้วยแหละ (โห) กลายเป็นเรื่องใหญ่ ใครๆ ก็รู้กันทั่ว แล้วชองก็เริ่มแกะรอย คุณอ็อท write มาทาง console บอกให้ถอดสายเน็ตเวิร์กออก ก็เลยถอด แล้วมาคุย ICQ กับแกอีกห้องหนึ่ง รายงานความก้าวหน้า และแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน พร้อมๆ กับขอแผ่นเปล่าคุณสาดิศย์ เพื่อทำแผ่นบูตติดตั้ง debian คุยกันว่าอยากลง testing (sarge) ไปเลย เพราะอันเดิม เป็น stable (woody) ก็ยังโดนเจาะได้ แต่พบว่า testing มีอัปเดทบ่อย เลยไม่มี iso ให้ดาวน์โหลด (หรือมีแต่ไม่ได้แสดงให้โหลดง่ายๆ) อีกอย่างคือ ไม่มี iso ในไทย (มั๊ง) ก็เลยลองใช้ jigdo สร้าง iso image จาก pool ที่อยู่ใน ftp.nectec.or.th ก็พบว่าเร็วดี ไม่นานนักก็เสร็จ ได้ iso แผ่นแรกมา burn ทิ้งไว้
  • พอดีเที่ยงครึ่งแล้ว เลยปล่อยให้เครื่อง burn แผ่นไปเรื่อยๆ ด้วยความเร็วเต็มที่ ที่โน๊ตบุ๊กจะทำได้ (8-12x) แล้วออกมาทานข้าว ชองบอกว่า คงทำอะไรมากไม่ได้เพราะเห็นคุณอ็อทบอกว่าอาจจะโดนมาตั้งแต่เมษาแล้ว ตามลำบาก ได้แต่เก็บไฟล์ที่คุณอ็อทเก็บไว้ให้ และล็อกไฟล์บางส่วนกลับไปด้วย
  • กลับขึ้นมาที่ตึก ก็จัดการติดตั้งใหม่ซะ ทีแรกกะจะใช้ jfs แทน ext2 ของเดิม ซะหน่อย แต่โชคร้าย sarge ตัวนี้จะใช้ grub เป็น bootloader ซึ่งไม่สนับสนุนการโหลด stage2-5 จาก jfs เลยให้ / ใช้ ext3 เหมือนเดิม อย่างอื่นไม่แตะต้อง ไว้รอคุณอ็อทจัดการ ระหว่างที่ติดตั้งพบว่า sarge ติดตั้งได้ง่ายขึ้นเยอะ สามารถคอนฟิกโมดูลการ์ดเน็ตเวิร์คได้ถูกต้องโดยไม่ต้องบอกสักคำ ติดตั้ง openssh แล้วก็กลับไป online คุยกับคุณอ็อทต่อ
  • แว๊บสงสัย เออ เราคุยกับคุณอ็อทตัวจริงอยู่มั๊ย เลย แกล้งหยอกแกเล่นว่าแกคือตัวจริงหรือเปล่า เลยให้แกสะกดนามสกุลพี่เทพ แกตอบไม่ได้ (ฮา) แต่ก็ถามเล่นๆ ไปงั้นแหละ รู้ว่าแกนั่งเฝ้าหน้าเครื่องมาทั้งวันแล้วละ ก็ช่วยกันจูนอีกนิดหน่อย อัพเกรดเคอร์เนลเป็น 2.6.6 แล้วก็ไปเฝ้าหน้าจอบูต (เผื่อพลาด)
  • เสร็จในขั้นแรก คือติดตั้ง base system มอบภาระให้คุณอ็อทจัดการต่อ แล้วกลับไปที่งานลินุกซ์เอ็กซ์โป กลับไปเก็บของพอดี - -'' อดไปฟังบรรยายของหลายๆ คนเลย

conflict ในงานแปล Fedora

  • หลังจากที่โพสต์ไปครั้งก่อน ก็ตามเมลิงลิสต์ fedora-trans ต่อ เลยพึ่งเข้าใจกลไกของระบบควบคุมการแปลผ่านเว้บของ fedora ขึ้นอีก สรุปได้ว่า สำหรับไฟล์ po ที่ยังไม่ได้แปล หรือแปลยังไม่เสร็จ ใครจะแปล ต้องไป "take" ไฟล์นั้นที่เว็บก่อน แล้วแปลให้เสร็จ โดยตอนนี้กำหนดระยะเวลาว่า ถ้าไม่ active 2 วัน จะ "release" งานนั้นๆ อัตโนมัติ ในช่วงนี้จะแปลได้เพียงคนเดียว เพื่อเลี่ยงปัญหาการ conflict ซึ่งเกิดขึ้นเสมอ เมื่อมีคนแปลไฟลืเดียวกัน เนื่องจาก ลักษณะของงานแปล จะต่างจากงานอื่นๆ เพราะไฟล์ที่ยังแปลไม่หมด จะมีการแก้ไขค่อนข้างมาก และจะ conflict กันเสมอะ เลยต้องมีระบบนี้มาควบคุมอีกที เมื่อไฟล์แปลเสร็จ จะถูกตราว่า finish ไม่มีให้ "take" ตอนนี้ใครๆ ก็เข้าไปแก้ไข ได้ทันที
  • เรื่องความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เท่าที่จับความได้คือการแปลในภาษาอาหรับ เกือบจะเสร็จอยู่แล้ว เหลือเพียงไฟล์เดียว แต่ใหญ่หน่อย ทีนี้พอเปลี่ยนระบบ ให้มีการ "take" ไฟล์ก่อน ทำให้แปลได้คนเดียว และคนที่ "take" ไป กลายเป็นคนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม arabeyes เลยมีการโวยวายกันใหญ่จากคนในกลุ่ม ที่อยากให้ให้งานเสร็จสมบูรณ์โดยไว และมีการช่วยกันแก้ไขได้
  • ถกกันไปหลายรอบ ระหว่างฝ่าย arabeyes กับฝ่าย redhat จน alan cox ก็เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยด้วย สรุปจากที่อลันสรุปอีกทีคือ ทางฝ่าย redhat ก็ค่อนข้างมีแนวคิดเสรีแบบตะวันตก เช่น ทุกคนมีสิทธิเข้ามาร่วมแปลเท่าเทียมกัน ส่วนฝ่าย arab ก็มีแนวคิดการทำงานด้วยทีม โดยคนมาใหม่ ต้องเคารพคนที่มาก่อน อะไรทำนองนี้ และอยากให้กลุ่มตนสามารถควบคุมคนในทีมได้ ไม่ใช่ให้ควบคุมจากศูนย์กลางที่เรดแฮท ใครอยากแปล ก็ต้องเข้ากลุ่มเค้าก่อน เลยเริ่มจะเห็นภาพความแตกต่างของแนวคิด ตะวันตก กับตะวันออก บ้างนิดนึงแล้วละ
  • แถมอีกนิด ส่วนในการพอร์ตคำแปลจาก TLE ไป Fedora ก็เร่งไปได้ค่อนข้างมากในช่วงเสาร์ที่ผ่านมา โดยในการแปลแพกเกจสำคัญ จะเหลือเพียง anaconda กับ anaconda-help แต่ว่า ตั้งแต่วันอาทิตย์จนวันนี้ ยังไม่ว่างกลับไปทำต่อเลยครับ คิดว่าอาทิตย์หน้าโน่นแหละ ถึงจะว่าง

ประชุมวิชาการ สวทช. 47

  • มีออกบูธลินุกซ์ทะเล ออฟฟิศทะเล ต่อจากงาน Linux Expo เลย ได้ไปเฝ้าบูธ 2 วันคือวันเปิด (ศุกร์) และวันอาทิตย์ ดูปฏิทินแล้ว รู้สึกจนถึงเดือน พ.ย. จะมีกิจกรรมกันทุกเดือน.. เยอะจัง อยากจะปฏิเสธบ้างแล้วละ ไม่เป็นอันทำงานกันพอดี

เรื่องของตัวเอง

  • ได้ gmail ละ ชาว gmail คุยกันได้ที่ เมลชื่อ kamthorn นะครับ ที่เหลือไป @ เอาเอง ส่วนการคุยกับคนอื่นๆ คงต้องใช้เมล์ปกติ ที่เข้ารหัส 8 bit ต่อไป เพื่อความเข้ากันได้กับคนที่ใช้อยู่เดิม อันนี้ได้มาจาก mrchoke ครับ เพราะเค้าใช้มาระยะหนึ่ง จนออกไข่ได้ 6 ฟอง ผมเลยขอมาฟองหนึ่ง ใช้ยังไม่ถึงอาทิตย์ ก็ออกไข่ได้เอง 1 ฟอง เลยให้เพื่อนไปแล้ว สงสัยผมรุ่นที่สาม ออกได้แค่ฟองเดียวมัง
  • ซื้อ UPS แล้วละ พึ่งไปถอยมาสดๆ ร้อนๆ เลย ไม่ไหวแล้ว อาทิตย์นี้นั่งแปลอยู่ดีๆ ไฟดับที่บ้าน 3 ครั้งแล้ว เซ็ง
  • เขียนแนวไหนดีหว่า ต่อไป อาจจะเขียน เมื่อมีเรื่องจะเขียน โดยไม่ต้องรอครบอาทิตย์ ไม่รู้จะขยันพอหรือเปล่า -_-''

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2547

Kamthorn Weekly Newsletter #4

เผลอแป๊บเดียวก็ครบอาทิตย์อีกครั้ง ซึ่งได้ตั้งใจแล้วว่า การเขียน blog จะเขียนอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง โดยมีวันพุธเป็น dead line และแล้ว วันนี้ก็มาถึง ก็ถือโอกาสทบทวนว่า ในอาทิตย์ที่ผ่านมา มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

เกี่ยวกับ Wikipedia

  • ช่วงนี้คงต้องหยุดการร่วมสบทบงานใน Wikipedia สักพัก แต่ก็ยังแอบไปเช็ค Recentchanges (การแก้ไขล่าสุด) อยู่หลายครั้ง ที่ต้องพักไปก็เนื่องด้วย ต้องเร่งงานอื่นๆ ทั้งงานหลวงที่ชักล้นๆ อีกแล้ว และงานอาสาอื่นที่สำคัญกว่า
  • ในช่วงนี้ วิกิพีเดียภาษาไทย ก็มีข่าวสำคัญๆ คือ คุณ phisite ได้เลื่อนขั้นเป็น ผู้ดูแลระบบ แล้วครับ อิๆ ดีจัง ดูเหมือนคุณ bact จะได้เป็น sysop ด้วยนะ ถ้าจำไม่ผิด ซึ่งเดาว่าคุณ bact คงเข้าไปดำเนินการแปล Messages ต่อ

เกี่ยวกับการแปลใน Fedora

  • หลังจากลองดูพักนึงก็จับทางได้ว่า ควรแปล แพกเกจที่สำคัญก่อน
  • ระบบแปล ปกติจะใช้ cvs ผ่าน ssh ซึ่งก็เหมือนทั่วๆ ไป ตอนนี้เปลี่ยนระบบนิดหน่อย โดยผู้ที่จะแปล ให้ "take" ไฟล์ po นั้นๆ ไปก่อน โดยใช้รหัสที่ทางโครงการฯ จัดส่งมาให้ ก็ถือว่าขณะนั้น ไฟล์นี้เรากำลังแปลอยู่ เมื่อไหร่ที่จะหยุดแปล ไม่ว่าจะเสร็จหรือไม่เสร็จก็ตาม ก็ให้ "release" งานนั้นๆ นัยว่าเป็นการลดปัญหาการเกิด conflict หากมีมากกว่า 1 คนมาแก้ไฟล์แปล ไฟล์เดียวกัน อันนี้เห็นด้วย แต่ ณ ปัจจุบัน ไม่มีผลต่อผมเลย เพราะนั่งแปลอยู่คนเดียว ส่วนคุณไพศาข์หายเงียบไปนานแล้ว
  • การที่มีการเพิ่มระบบการ "take" และ "release" ทำให้เมลลิ่งลิสต์ fedora-trans คึกคักขึ้นทันตาเห็น หลายคนไม่เห็นด้วย และข้องใจที่ Software Engineer ของโครงการ Localization เพิ่มความยุ่งยากตรงนี้ขึ้น เช่น ถ้า "take" ไปแล้วเงียบหายไปเลยจะทำอย่างไร เพราะคนอื่น จะไม่สามารถ checkin ได้ Bernd Groh ซึ่งเป็นผู้นำระบบนี้มาใช้ก็ชี้แจงว่า รุ่นต่อไปจะมีกำหนดเวลาว่า ถ้าเงียบหายไปนานระยะหนึ่ง จะ "release" อัตโนมัติ ส่วน ณ ปัจจุบัน ให้ใช้วิธีแจ้งผ่านเมลลิงลิสต์เอา ซึ่ง Bernd และ Sarrah มีสิทธิที่จะ "release" ให้ได้ ซึ่งก็มีการโต้ตอบ และชี้แจงกันไปมาทำนองนี้หลายประเด็น นี่ก็ยังอ่านไม่จบเลย (Alan Cox ก็มาร่วมแจมด้วย) แต่คิดว่า เมื่อทุกคนเข้าใจกันแล้ว ก็คงเห็นในข้อดีของมัน สรุปว่าได้อย่างเสียอย่างครับ แต่น่าจะได้มากกว่า คือลด conflict ลง แต่จำกัด freedom ในการเข้าไปแก้ไขงานคนอื่น (เช่น แปลผิด หรือสะกดผิดเล็กๆ น้อย ในระหว่างที่คนนั้นแปลอยู่) ซึ่งคงต้องดูว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป

เกี่ยวกับ Yahoo!

  • พึ่งรู้ว่า Yahoo Asia นี่สำนักงานอยู่ทีสิงคโปร์นี่เอง
  • เมลลิงลิสต์ของผมส่วนหนึ่งเริ่มย้ายมาอยู่ที่ Yahoo Mail แล้วครับ

เปิดประเด็นไว้ก่อน

  • เห็น MrChoke ใช้ GMail ซึ่งอ่านเมลจากรหัส TIS-620 แล้วแปลงเป็น UTF-8 ให้ แต่ตอนส่งออกกลับเป็น UTF-8 อย่างเดียว แล้วก็คิดว่า น่าจะถึงเวลาทบทวนเกี่ยวกับการเข้ารหัสอักขระของเมลภาษาไทยกันอีกทีนะ (ยังถือว่าควรส่งเป็น TIS-620 ต่อไปหรือไม่, ถึงเวลาของ UTF-8 หรือยัง คือถ้าถึงแล้ว ก็คงต้องปรับแก้ซอฟต์แวร์ที่ยังมีปัญหาอยู่ให้หมด เช่นพวก WebMail อย่าง squirrelmail)
  • เอายังไงดีกับการเข้ารหัสอักขระของชื่อไฟล์บนซีดีรอมเมื่อใช้ภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษ เช่นภาษาไทย โดยเฉพาะเมื่อผมใช้การเข้ารหัสอักขระชื่อไฟล์ของระบบเป็น UTF-8 หมดเลย
  • อืมม JFS ก็น่าสนใจนะ เมื่อมันเก็บชื่อไฟล์เป็น UNICODE ทั้งหมด แล้วแปลงเป็นรหัสต่างๆ โดยผ่านตัวเลือก iocharset เอา
  • วันนี้ไปร่วมจัดงาน Thailand Linux Expo มา บูธ Linux Showcase ตอนแรกจะอยู่บริเวณที่ว่างตรงมุมๆ ไกลๆ แต่ได้รับแจ้งว่า จะให้ย้ายไปอยู่กลางฟลอร์แทนไมโครซอฟต์ เนื่องจากบริษัทยักษ์ใหญ่ได้ขอถอนตัวจากการเป็นผู้สนับสนุนและออกแสดงบูธในงานสัมมนา Goverment IT ซึ่งจัดพร้อมๆ กันในพื้นที่เดียวกันกับงานลินุกซ์เอ็กซโป (สงสัยกันว่าไม่ต้องการชนกับลินุกซ์?) พรุ่งนี้จะไปอีกวัน แล้วค่อยมาเขียนสรุปงานนี้อีกที
ขอเปิดประเด็นไว้ก่อนครับ ครั้งหน้าจะหาข้อมูลมาพูดถึงดู

เรื่องเกี่ยวกับตัวเอง

  • หายปวดคอแล้วครับ หายตั้งแต่วันต่อมาหลังจากที่เขียน blog ครั้งก่อน :-)
  • บางครั้งคนเราก็เชื่อในสำนึกแรกของตัวเองแบบฝังใจเอามากๆ เช่นเมื่อวันศุกร์ตอนกำลังลงจากออฟฟิศจะขึ้นรถโรงเรียนกลับบ้าน (ที่นี่เรียกรถบริการรับส่งพนักงานว่ารถโรงเรียน และเรียกคนอยู่หอใกล้ๆ ว่านักเรียนประจำ) นึกได้ว่ากุญแจบ้านไม่อยู่ในกระเป๋ากางเกง คิดว่าคงลืมไว้บนโต๊ะบนออฟฟิศ เพราะชอบเอาออกมาวางเวลานั่ง ไม่งั้นมันจะทำให้รำคาญ แต่ก็ขี้เกียจขึ้นไปเอา เพราะยังไงก็กลับพร้อมเพื่อนร่วมชายคาอยู่แล้ว เลยทิ้งไว้ก่อน คงไม่หาย ทีนี้วันเสาร์-อาทิตย์ก็เลยไม่กล้าไปไหน กลัวเข้าบ้านไม่ได้ถ้าไม่มีคนอยู่ จนกระทั่งวันจันทร์เข้ามาทำงาน จึงพบว่ากุญแจไม่ได้อยู่บนโต๊ะ เลยเอะใจ ล้วงไปดูในกระเป๋าสะพายที่ห้อยตัวไปไหนต่อไหนตลอดเวลา ก็พบว่า อยู่ในนั้นแหละ อยู่ตั้งแต่วันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ โดยไม่ได้รู้เรื่องเลย วันนี้มานึกถึงเรื่องนี้อีกที เพราะเพื่อนก็เจอเหตุการณ์คล้ายๆ กัน เลยรู้ว่า บางทีคนเราก็เชื่อในสำนึกแรกของตัวเอง แล้วเชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ทำให้บดบังความคิดอื่นๆ ที่จะนำไปสู่ความรู้จริงได้ ประมาณเส้นผมบังภูเขา ซึ่งถ้ามีเพื่อนที่มองเห็นเส้นผม และช่วยเอาออกให้ได้ ก็จะทำให้ชีวิตมันสว่างสดใสขึ้นเนาะ หรือคิดว่าอย่างไร?

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547

Kamthorn Weekly Newsletter #3

ตั้งหัวข้อประชดตัวเองไปซะอย่างนั้นแหละครับ คนอะไร ขี้เกียจขนาดเขียน blog อาทิตย์ละหน

Fedora Core Thai Translation

ข่าวแรกเริ่มด้วยการที่ผมได้เข้าไปเริ่มแปล Fedora Core ซึ่งตอนนี้เค้าเปิดให้นานาชาติเข้าไปแปลได้แล้ว ซึ่งผลจากการแปลครั้งนี้ จะออกไปพร้อมๆ กับ FC3 หรือ Fedora Core 3 โดยได้ลองแปลไป 2 โปรแกรม สั้นๆ เพื่อทดสอบระบบ ที่เหลือ ตั้งใจว่า จะเอาคำแปลที่ใช้ใน Linux TLE 5.5 มา merge แล้วตรวจคำแปลเสียหน่อย คาดว่ามีเวลาประมาณ 5-6 เดือน แต่เนื่องจากผมกำหนดว่า นี่เป็นงานนอกเหนือจากงานในหน้าที่ จึงตั้งใจทำที่บ้านอย่างเดียว ดังนั้นงานอาจจะค่อยๆ ขยับ ใครสนใจช่วยแปล ก็บอกได้นะครับ

แล้วไม่กลัวมีผลกระทบอะไรกับ Linux TLE เหรอ?
ในความเห็นผม คิดว่ามีแต่ผลดีครับ อย่างน้อย ต่อไป ทั้ง TLC และ TLE และ อื่นๆ ก็ไม่ต้องแปลเอง

Links: Fedora Translations Project

== [[Wikipedia:การแก้ไขหน้า]] ==

เกี่ยวกับ วิกิพีเดียภาษาไทย ตอนนี้ได้แปลหน้า "[[การแก้ไขหน้า]]" เสร็จแล้ว หวังว่าจะมีประโยชน์กับใครก็ตาม ที่สนใจร่วมโครงการสารานุกรมวิกิพีเดียวภาษาไทย จะได้อาศัยเป็นคู่มืออ้างอิงได้

ในส่วนของคู่มือ ตั้งใจจะเขียน/แปลเรื่องตาราง เป็นอันต่อไป

อีกอันก็เป็น[[หน้าหลัก]] อาศัยจังหวะคนอื่นๆ เผลอ ลองเปลี่ยน Layout ใหม่ โดยดูจากตัวอย่างหลายๆ ที่ เพื่อทำให้ซอร์สโค้ดดูง่ายขึ้น

อันสุดท้ายคือหน้า Comminuty_Portal ซึ่งต่อไปคงย้ายกรอบ "ชุมชน" จากหน้าหลัก มาไว้ที่นี่ ตอนนี้เลยใส่คำเชิญชวนให้ช่วยกันเขียน/แปลสารานุกรม

ช่วงหลังๆ ดูเหมือน Wikipedia จะมี load สูงมาก ทำเอาติดต่อฐานข้อมูลไม่ได้บ่อยครั้ง ได้แต่หวังว่าจะมีคนสนับสนุนเงินบริจาคเยอะๆ เค้าจะได้เอาไปเพิ่มเซิร์ฟเวอร์ ส่วนผมคงไม่มีปัญญา ช่วยได้แค่ออกแรง

ล่าสุดชวนคุณ Loma มาช่วยเขียนได้อีกคน ซึ่งกำลังเขียนข้อมูลต้นไม้ประดับอยู่

Links: วิกิพีเดียภาษาไทย

Yahoooooo!


ในที่สุดข่าวลือที่ได้ยินมาก็เป็นความจริง Yahoo Mail เพิ่มเนื้อที่อีเมลฟรีเป็น 100 MB นัยว่าเป็นการตอบโต้ Gmail
อ้าว แล้วผมล่ะ อุตส่าห์เสียเงินไป $19.95 เพื่อให้ได้ 25 MB (กับบริการอื่นๆ อีกนิดหน่อย) ก็เสียเปรียบแย่สิ แถมพอเห็นออกข่าวแบบนี้แล้วลองล็อกอินดูปรากฏว่า ยังมีแค่ 25 MB เหมือนเดิมยิ่งใจหาย เสียเงินแล้วได้น้อยกว่า แต่ก็สังหรณ์ใจ เลยลองเปลี่ยน Location จาก Asia ไปที่ US ซึ่งทำให้เปลี่ยน server ที่ให้บริการจากสิงคโปร์เป็น US ไปด้วย ก็พบว่า จากเดิมที่ใช้เนื้อที่ 30% of 25MB กลายเป็น 0% of 2GB อย่างที่เห็นในภาพ หุๆ Gmail ก็ Gmail เถอะ อันที่จริงก็ยังไม่เคยใช้ Gmail หรอกนะ แต่คิดว่า Yahoo ให้บริการที่เป็นมาตรฐานดี เสียเงินก็คุ้ม

จุดเสียของการใช้ Yahoo Mail ก็ยังมีอยู่ คือ มันยังไม่สนับสนุนการใช้ภาษาไทย อันได้แก่ charset ของ Web ก็ยังเป็น iso8859-1 และข้อความในจดหมายก็กำหนด charset เป็น us-ascii ซึ่งโปรแกรมรับเมล์หลายตัว จะอ่านไม่ได้ เพราะผิดรหัส เรื่องนี้ ถ้ามีโอกาส ก็จะลองขอให้เขาเพิ่มการสนับสนุนรหัสภาษาไทยดู (ยังไม่รู้เลยว่าจะติดต่อใคร)

Links: Yahoo Mail

ปรับเพิ่มลิงก์ ด้านขวามือ

ก็พยายามใส่รายการลิงก์หา blog ของเพื่อนๆ เท่าที่รู้จัก ไม่แน่ใจว่ายังตกหล่นใครไปบ้างไหม ก็บอกกันมาได้นะครับ และคงจะเพิ่มลิงก์ที่ผมสนใจให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย

ปวดคอจัง

ถึงเรื่องบ่นบ้าง วันนี้ปวดคอยังไม่หายเลย ปวดมา 2-3 วันแล้ว เหมือนคอตกหมอน (คิดว่าไม่ได้ตกนะ ตื่นมาก็ยังอยู่บนหมอน) แต่วันนี้ก็ดีขึ้นมาก ตอนที่ปวด 2 วันแรก แทบจะขยับคอไม่ได้ ใครมาคุยด้วยก็ต้องค่อยๆ หันตัวไป มองด้วยหางตาก่อน เพราะหันคอไม่ได้ พอทำบ่อยๆ เข้า ชักรู้สึกเหมือนว่า ทำตัวไม่สุภาพเลย คือทั้งมองด้วยหางตาก่อน แล้วก็ค่อยๆ หันตัวมา โดยไม่หันคอ เหอๆ

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547

Folding@Home, Unreal Tournament 2004 และ Wikipedia

เงียบไปนานๆ เลยเข้ามาอัพเดทเสียหน่อยว่าทำอะไรอยู่บ้าง นานๆ อัพเดททีสงสัยต้องออกเป็น Weekly Newsletter แทนละมัง :-)

เรื่องแรกคือ ผมรัน SETI@Home อยู่ ตอนนี้ก็ได้ 12xxx unit แล้วละ เข้าไปดูได้ที่
http://setiathome.berkeley.edu/stats/country_1068.html
แต่จะเริ่มลดแล้ว เพื่อไปรัน Folding@Home แทน เป็นการหาโครงสร้างโปรตีนอะไรประมาณนี้แหละ ผมก็ไม่ได้อ่านละเอียด รู้แต่ พี่เทพก็รันไปแล้ว ส่วนของผมก็ที่นี่ครับ

เหตุผลที่รันก็ไม่มีอะไรมาก เพียงแต่รู้สึกว่า มันน่าจะให้ประโยชน์มากที่สุด (จริงๆ แล้ว ผมไม่เชื่อว่า SETI จะพบ Aliens แค่รัน SETI@home เพราะอยากให้คอมฯที่ใช้อยู่ มันมีอะไรทำฆ่าเวลาซีพียูบ้าง) ที่จริงก็รู้จัก Folding@Home นานแล้วแหละ เพียงแต่ก่อนนี้ สนใจที่จะแข่งขันรัน SETI@Home มากกว่า คืออยากให้ประเทศไทยรันกันเยอะๆ จะได้แซงประเทศอื่นๆ ขึ้นไปบ้าง (แสดงว่าการที่ SETI@Home แสดงสถิติที่หลากหลาย และละเอียด ก็ทำให้มีผลต่อความรู้สึกอยากแข่งขันของคนได้) ทีนี้ที่หันมาเริ่มรัน Folding@Home ก็มีหลายๆ เหตุด้วยกัน อย่างนึงคือพี่เทพก็เริ่มรันแล้ว (มีเพื่อน) อีกเหตุคือ เห็นหน้าที่แสดงตำแหน่งคนในโลกที่รัน Folding@Home แล้วอยากช่วยเสริมความเข้มของประเทศไทยบ้าง (ดูเหมือนตอนนี้จะเปลี่ยนสีจากจุดเขียว เป็นจุดเหลืองแล้ว เย)แต่ตอนนี้รันได้เฉพาะบน Linux, Windows และ Mac OS X เท่านั้น บน FreeBSD ก็เลยรัน SETI@home ต่อ

ผลคือ การทำ unit หินขึ้นกว่าเดิม รันมาตั้งนาน พึ่งได้ 5 unit เอง แถมไม่ได้รันแบบเดียวด้วย ผมเจอแบบนึง 3 วันยังไม่ได้ unit เลย (รันเฉพาะเวลาเปิดเครื่องครับ เดี๋ยวนี้ปิดเครื่องหลังเลิกงาน เช้าค่อยเปิด) แต่ยังไงก็จะพยายามต่อไป และขอเชิญชวน เพื่อนๆ ที่เห็นว่าซีพียูของตนที่เปิดทิ้งไว้ มันว่างงานมาก ก็ให้มันคำนวณอะไรฆ่าเวลาซีพียูเล่น รับรองว่าไม่ทำให้งานอื่นช้าลงจนสังเกตได้ (ผมรันไป เล่นเกม UT2004 ไปสบายๆ (แก้ไขเพิ่มเติม: เล่นที่บ้านนะครับ))

เรื่องที่สอง ได้ดาวน์โหลด Unreal Tournament 2004 มาเล่นที่บ้านครับ กะว่าจะทดสอบการ์ด GeForce FX 5200 ตัวใหม่ เล่นคนเดียวครับ ไม่ได้ online แต่ยอมรับเลยว่าทำได้ดีมากๆ เคยพยายามลองเล่น UT2003 มั๊ง แต่ตอนนั้นเครื่องยังไม่ค่อยแรง ไม่สนุกเลย แต่พอเจอเครื่อง ICT 2 + GeForce FX 5200 แล้วแจ๋วเลยครับ ชอบเล่นที่เป็นแบบทีม (เล่นกับบ็อต) 2 ฝ่าย ยกพวกยึดพื้นที่ และตีรุกเข้าไปจนทำลายศูนย์พลังงานของฝ่ายตรงข้ามได้ รุ่น Demo มีอยู่ map เดียว เล่นจนจำพื้นที่ได้หมดแล้ว อีกแบบที่สนุกเหมือนกัน แต่นานๆ เล่นทีคือ Deathmath ประมาณ Quake 3 น่ะครับ ไล่ยิงกัน ตัวใครตัวมัน สนุกอย่างนี้ สงสัยต้องได้หาแผ่นเต็มมาเล่นละมัง ไม่รู้จะมีแผ่นสำหรับลินุกซ์ขายหรือเปล่า แต่ก็ไม่ได้เล่นทุกวันหรอกครับ เล่นเฉพาะวันอาทิตย์เย็นๆ แต่ก็เล่นนาน (แหะๆ) 3-6 ชั่วโมงได้ เล่นหลายวันไม่ไหว เสียงานหมด เอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า

จุดเด่นก็คงจะเป็นภาพที่ทำได้สวยงาม มีเกมให้เล่นหลายแบบ บ็อตสามารถตั้งได้หลายระดับ (ถึงว่า เล่นครั้งแรกๆ รู้สึกว่าบ็อตไม่เก่งเลย ที่แท้ตั้งไว้ระดับต่ำสุด) เนื้อเรื่องก็ทำให้เล่นได้มันดี ตั้งระดับบ็อตที่เหมาะสมก็ลุ้นมันดี ผลัดกันแพ้ชนะหลายครั้ง

เรื่องสุดท้าย ได้ลองเอา Wikipedia มาลองเล่นดูครับ ตัวแพกเกจจะชื่อ mediawiki ตอนแรกเอารุ่น 1.2.6 มาลอง โดยเอามาติดตั้งบน server ที่มีอยู่ ความรู้สึกแรกคือ ลงง่ายมากครับ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการที่ทำเป็นเว็บ และมี source ให้ดาวน์โหลดอย่างนี้ (เช่น sourceforge.net) เข้าใจว่าส่วนใหญ่เค้า edit กันบนระบบจริงๆ เลย จึงไม่ค่อยได้เผื่อคนอื่น ที่จะเอาไปเซ็ตอัพเซิร์ฟเวอร์ใหม่เท่าไหร่ อย่าง sourceforge นี่ยากสุดยอดเลย เคยพยายามแล้วงงมาก เอกสารก็ไม่ค่อยมีด้วย แต่สำหรับ mediawiki แล้วง่ายมาก มีการคอนฟิกครั้งแรกผ่านเว็บด้วย สะดวกมาก แต่เห็นบอก ให้ระวังตอนเปลี่ยนรุ่น บางครั้งต้องอัปเดทด้วยมือ (ก็เห็นเป็นอย่างนี้ทุกอันแหละ พวกที่เกี่ยวกับ database เช่นเว็บเบสแอพลิเคชันพวกนี้)

จุดเด่นของ mediawiki

  • สนับสนุนระบบหลายภาษา เพราะเก็บข้อมูลและแสดงเป็น UTF-8 ทั้งหมด มีการแปลเป็นภาษาต่างๆ ด้วย รวมทั้งภาษาไทย ตั้งชื่อหน้าเป็นภาษาอะไรก็ได้
  • สนับสนุนการอัปโหลดรูปภาพ และไฟล์มีเดียอื่นๆ ไปเก็บที่เซิร์ฟเวอร์ และใช้อ้างอิงได้จากหน้าวิกิ
  • คงเอกลักษณ์ของวิกิคือการแก้ไขที่ง่าย คือดูเอกสารที่เป็น text ที่กำลังแก้ไข ก็เห็นคล้ายๆ กับที่จะแสดง แต่ค่อนข้างจะเป็นวิกิยุคใหม่ เห็นได้จากที่ใช้ == หัวข้อ == และ [[ลิงก์]] เป็นต้น
  • ในขณะเดียวกันก็ยืดหยุ่นมากกว่า สามารถสร้างหน้าวิกิได้ซับซ้อนมากขึ้น เช่นตาราง สามารถกำหนด options แบบเดียวกับใน HTML ได้เลย รวมทั้งการกำหนด style (css) ด้วย นอกจากนี้ยังสามารถใช้ tag HTML (ส่วนหนึ่ง แต่ก็พอเพียง) ได้ด้วย
  • มีระบบ login และสามารถล็อกบางเพจได้ ซึ่งจะแก้ไขได้เฉพาะผู้ที่เป็น admin


อย่างไรก็ตาม พอลองใช้ไปสักพัก ก็พบปัญหาหลายๆ อย่าง ก็ไปเปรียบเทียบกับ Wikipedia พบว่าไม่เหมือนกัน wikipedia หรูหรา และมีฟีเจอร์เยอะกว่ามาก โดยเฉพาะ skin ชื่อ monobook ซึ่ง mediawiki 1.2.6 ไม่มี เลยเช็คดูพบว่า mediawiki 1.2.6 มันเป็น wikipedia phase2 ส่วน 1.3.0 ที่กำลังจะออก จะเป็น phase3 ซึ่งเป็นตัวปัจจุบันที่ wikipedia ใช้อยู่ เลย checkout phase3 จาก cvs มาลองดู พบว่า เป็น 1.3.0 beta1 แต่ก็ใช้ได้ดีมาก เลยเอามาลองเล่น ลองหันเขียนหน้าวิกิแบบใหม่ต่อ โดยพยายามศึกษาจากซอร์สของหน้าวิกิที่ wikipedia เองด้วย

จนวันจันทร์ที่ 7 ที่ผ่านมา จึงพบว่าออกรุ่น 1.3.0 beta2 แล้ว ก็อัพเกรดอีกรอบ และใช้จนปัจจุบัน

นอกจากนี้ก็ได้เข้าไปร่วมเป็นสมาชิกใน วิกิพีเดียภาษาไทย และกำลังเริ่มแปลวิธีการแก้ไขหน้าอยู่ครับ ใครสนใจ เชิญได้เลยนะครับ ส่วนจะเข้าไปเขียนยังไงนั้น เดี๋ยวรอผม กับพี่ปลา (กับคนอื่นๆ ด้วย) แปลวิธีการแก้ไขหน้าวิกิเสร็จแล้ว จะชวนเข้าไปอ่านและลองทำดูครับ ไม่ยากเลยครับ

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547

My New Display Card

เครื่อง PC ที่ผมใช้อยู่ที่บ้าน เป็นเครื่อง ICT โครงการ 2 ถือว่าเป็นเครื่อง spec ดี ราคาประหยัดมาก ซื้อมาตั้งแต่งานคอมเวิร์ลด์โน่น เอามาผสมกับของเก่าที่มีอยู่ ได้แก่
  • ลำโพงพร้อม sub woofer ที่อาเฮียคนนึง (ขออภัย จำชื่อไม่ได้แล้ว) ที่เป็นเจ้าของร้านที่พันธุ์ทิพย์ ยกให้ฟรีๆ ตอนไปออกงานที่พันธุ์ทิพย์
  • การ์ดเสียง Vibra 128 ตัวเก่า ซื้อไว้นานแล้ว
  • ฮาร์ดดิสก์เก่า 10GB

นอกจากนั้นก็มี DVD+R/RW Writer แต่เอาไว้บ้านไม่ค่อยได้ใช้ เลยเอามาสลับกับ Combo Drive ที่ทำงานไปใส่แทน สังเกต บางทีอากาศร้อนๆ แล้วแฮงก์บ่อย ทีแรกนึกว่าเพราะพัดลมซีพียูไม่ดี แต่พี่อีกคนที่ใช้เหมือนกันบอกว่า น่าจะเพราะชิปเซ็ตร้อนมากกว่า ดูแล้วก็เป็นไปได้ เพราะเช็กดูซีพียูก็ไม่ได้ร้อนอะไรมาก เลยเพิ่มพัดลมเคสอีก 2 ตัว ดูดเข้าด้านหน้า ให้มันพัดผ่านฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวพอดี และดูดออกด้านหลัง สังเกตดูพบว่าทำงานเสถียรขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เอ้อ เกือบลืม ซื้อ Joy pad แบบ USB อันละ 150 มาไว้เล่นเกมด้วย เล่นได้คล่องมือขึ้นเยอะ

และก็มาถึงอุปกรณ์ตัวสุดท้าย ที่พยายามหาเหตุผลสารพัดที่จะไม่อัปเกรด แต่ในที่สุดก็ทนไม่ไหว วันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้ออกไปประชุมข้างนอก จนบ่ายแก่ๆ ตัดสินใจไม่กลับออฟฟิศ แวะเซียร์แล้วกัน ก็จะไปซื้อการ์ดแสดงผลใหม่น่ะซีครับ ของเก่าเป็น SIS 740 onboard ไม่มีอนาคตแน่ ทีแรกกะว่าจะซื้อแค่ NVIDIA ถูกๆ สัก 1,800 น่าจะเอาอยู่ แต่เดินไปเดินมา ไปเจอ GeForce FX 5200 64bit 128MB มี 1 crt, 1 dvi (พร้อมหัวแปลง crt), 1 s-video/video ในราคา 2,500 เลยกัดฟันซื้อซะ แล้วมาปลอบตัวเองว่าซื้อให้มันดีๆ ไปเลย จะได้ไม่ต้องมาซื้อใหม่อีก เหอๆๆ