เคยกล่าวไปในครั้งที่แล้วว่า ลินุกซ์ 64bit ไม่สามารถเล่นแฟลชได้ตรงๆ เพราะไม่มี plugin flash แบบ 64bit สำหรับ firefox 64bit โดยทางออกแรกที่รู้ๆ กันคือ ติดตั้ง firefox 32bit คู่ขนานไปกับ firefox 64bit ด้วย แต่ยังมีทางออกอื่น ที่ผมก็พึ่งรู้ นั่นคือใช้ nspluginwrapper เพื่อทำให้ plugin 32bit ใช้กับ browser 64bit ได้
ดูวิธีการได้ที่นี่ http://plugindoc.mozdev.org/linux-amd64.html#nswrapper
ขอสรุปขั้นตอน ซึ่งปรับและลัดขั้นตอนมา ดังนี้
วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2550
วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2550
Feisty กับปัญหาการต่อ wireless
Ubuntu 7.04 Feisty ใช้ gnome 2.18 ซึ่งรวมเอาระบบจัดการเน็ตเวิร์คของ gnome ที่ชื่อ NetworkManager มาด้วย ที่จริง NM ก็ใช้ง่ายดีนะครับ ทำให้การใช้ wireless ง่ายขึ้นเยอะ และสนับสนุนการใช้ WPA เป็นอย่างดีอีกด้วย แต่ปัญหาคือ มีการ์ด wireless หลายตัวที่ไดรเวอร์ไม่สนับสนุน WPA หรือสนับสนุนด้วยวิธีการของตัวเอง ซึ่งของผมใช้ไดรเวอร์ rt2500 จะเป็นกรณีหลัง ทำให้การใช้ NM ไม่สามารถคอนฟิกค่าเน็ตเวิร์คแบบ wireless ได้เลย ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งแบบ no security, WEP และ WPA
ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีเดิม คือคอนฟิกด้วยมือ และเมื่อเปลี่ยนไปใช้ wireless ที่อื่น ก็ต้องแก้ด้วยมืออีก ซึ่งไม่สะดวกและเสียเวลาเอามากๆ เลยค้นหาว่ามีเครื่องมืออะไรช่วยได้บ้าง หาไปหามา ก็เจอ wifi-radar ใช้ง่ายดี และที่สำคัญคือมันใช้งานได้จริง เลยลงตัว จึงได้ถอน network-manager และ network-manager-gnome ออกซะ
อย่างไรก็ตามยังหวังว่าไดรเวอร์ของ wireless ต่างๆ จะสนับสนุนสมบูรณ์แบบ เพราะยังไง NM ก็มีฟังก์ชันครอบคลุมกว่า คือมันคอนฟิกแลนแบบมีสาย โมเด็มธรรมดา โมเด็ม DSL ก็ได้ และตั้งง่ายกว่าด้วย
ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีเดิม คือคอนฟิกด้วยมือ และเมื่อเปลี่ยนไปใช้ wireless ที่อื่น ก็ต้องแก้ด้วยมืออีก ซึ่งไม่สะดวกและเสียเวลาเอามากๆ เลยค้นหาว่ามีเครื่องมืออะไรช่วยได้บ้าง หาไปหามา ก็เจอ wifi-radar ใช้ง่ายดี และที่สำคัญคือมันใช้งานได้จริง เลยลงตัว จึงได้ถอน network-manager และ network-manager-gnome ออกซะ
อย่างไรก็ตามยังหวังว่าไดรเวอร์ของ wireless ต่างๆ จะสนับสนุนสมบูรณ์แบบ เพราะยังไง NM ก็มีฟังก์ชันครอบคลุมกว่า คือมันคอนฟิกแลนแบบมีสาย โมเด็มธรรมดา โมเด็ม DSL ก็ได้ และตั้งง่ายกว่าด้วย
ลง Feisty ตัวเต็ม 64bit
ครั้งแรกที่ได้ notebook ATEC Vegus 285 มา เคยลง Ubuntu Dapper 64bit ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนั้นเฉยๆ ไม่รู้สึกว่าจะเร็วกว่าตรงไหน แถมใช้ java applet กับ flash ไม่ได้ด้วย เลยถอยกลับไปใช้ 32bit เหมือนเดิม และใช้มาจน feisty ออกนี่แหละ เลยคิดว่าจะลองใจแข็งใช้ 64bit อีกสักที เพราะตอนนี้ java ก็ใช้ 64bit ได้แล้ว เหลือแต่ flash นี่แหละ ก็กะว่าจะใช้ gnash ไปก่อน
ตอนลงก็เรียบร้อยดี notebook รุ่นนี้ใช้ ATI radeon xpress 200m ใช้ driver แบบ open source แล้วจะใช้ 3D ไม่ได้ เลยติดตั้ง restricted driver ด้วย restricted driver manager ก็ง่ายดี ไม่ต้องออกแรงเยอะเหมือนรุ่นก่อน รีบูตใหม่ก็ใช้ได้ทันที สามารถทดสอบความสามารถ 3D ได้ด้วยคำสั่ง glxgears และ fgl_glxgears
ตอนลงก็เรียบร้อยดี notebook รุ่นนี้ใช้ ATI radeon xpress 200m ใช้ driver แบบ open source แล้วจะใช้ 3D ไม่ได้ เลยติดตั้ง restricted driver ด้วย restricted driver manager ก็ง่ายดี ไม่ต้องออกแรงเยอะเหมือนรุ่นก่อน รีบูตใหม่ก็ใช้ได้ทันที สามารถทดสอบความสามารถ 3D ได้ด้วยคำสั่ง glxgears และ fgl_glxgears
วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2550
Absolute Zero ดูแล้วเซ็ง
อาทิตย์ก่อน ได้ดู Absolute Zero ทางช่อง Star Movie ได้ดูแค่ช่วงท้ายๆ เรื่อง ถึงกับอึ้ง ว่าทำไมมันเป็นหนังวิทยาศาสตร์ที่ห่วยสุดๆ อย่างนี้ แล้ว Star Movie เอามาฉายได้ไงนี่ ว่าแล้วก็กลับมาคิดว่า ที่เราบอกว่าห่วยนี่ เราใช้เกณฑ์อะไรวัด คิดไปคิดมาก็ได้ข้อสรุป
สำหรับผม นิยายวิทยาศาสตร์หรือภาพยนต์วิทยาศาสตร์ คือเรื่องราว
สำหรับผม นิยายวิทยาศาสตร์หรือภาพยนต์วิทยาศาสตร์ คือเรื่องราว
วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2550
ลง Ubuntu 7.04 BETA (Feisty Fawn)
วันศุกร์ที่ 30 มี.ค. 50 ที่ผ่านมา ไปงานสัมนา จันทร์เอ๋ย Chantra ที่การบินไทย สุวรรณภูมิ ได้คุยกับมะระ ว่าอยากให้ feisty มันติดตั้งปุ๊บ ใช้ไทยได้พริ้วทันที ไม่อยากให้ติดขัดแบบ edgy ที่ผ่านมา อ่านบล็อกพี่เทพ แล้วคาดว่ารุ่นนี้น่าจะพริ้วอยากที่มะระต้องการ พอดีกับเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊กใหม่ เลยมาลง feisty ทดสอบเรื่องภาษาไทยเล่นๆ ดีกว่า
ไหนๆ ก็ลงแล้ว ก็ขอบันทึกไว้หน่อย ว่าทำอะไรไปบ้าง
ไหนๆ ก็ลงแล้ว ก็ขอบันทึกไว้หน่อย ว่าทำอะไรไปบ้าง
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)