วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549

megabyte เท่ากับเท่าไหร่กันแน่?

เมื่อวานได้เข้าประชุมเพื่อร่วมกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานแห่งหนึ่ง ผมได้เสนอให้กำหนดนิยามของ KB, MB, GB ระหว่างหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ให้แตกต่างกันอย่างชัดเจน อันเนื่องมาจากในเอกสารคุณสมบัติเฉพาะนั้น มีการใช้ MB, GB อยู่ทั้งสองความหมาย แต่ประเด็นนี้ตกไป เพราะกรรมการท่านอื่นเห็นว่าการวัดความจุพวกนี้เป็นการวัดแบบปกติวิสัยอยู่แล้ว ให้ดูตามสเปคของผู้ขายที่ระบุมาได้เลย ซึ่งผมก็ได้แต่ทิ้งข้อคิดเห็นเรื่องความสับสนที่จะเกิดขึ้นในการตรวจรับไว้เท่านั้น จึงขอบันทึกข้อเท็จจริงเรื่องความสับสนดังกล่าว ไว้ที่นี่ เพื่ออ้างอิงต่อไป และได้เข้าไปเพิ่มเติมเนื้อหาเรื่องนี้ใน วิกิพีเดียไทย เรื่อง เมกะไบต์ ไว้อีกทางหนึ่ง

วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2549

ดาวเคราะห์ดวงที่ 10 ... และ 11, 12

คงจะเคยได้ยินข่าวลือเรื่องดาวเคราะห์เอ๊กซ์หรือดาวเคราะห์ดวงที่ 10 ของระบบสุริยจักรวาลกันนะครับ ตามข่าวเดิม คาดกันว่าดาวเคราะห์ดวงที่ 10 มีขนาดใหญ่ อยู่ไกลจากวงโคจรของดาวพลูโตมาก และใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นพันปี และต่อมาก็มีการพบจริงๆ แต่ไม่ได้ใหญ่อย่างที่คาดกันไว้ และมีวงโคจรที่ประหลาดเอามากๆ จนหลายคนไม่ยอมรับว่ามันเป็นดาวเคราะห์ ดาวดวงนี้เรียกชื่อเล่นว่า Xena และยังมีประเด็นอีกว่าพลูโต ก็อาจจะไม่ควรนับเป็นดาวเคราะห์ ด้วยความที่มีขนาดเล็กเกินไป เล็กจนมีขนาดโตกว่าดวงจันทร์ของมันที่ชื่อ Charon นิดเดียว แถมมีวงโคจรเอียงกว่าชาวบ้านเล็กน้อย บิดเบี้ยวจนบางครั้งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเนปจูนเสียอีก สุริยจักรวาลเกือบเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวงแล้วจนกระทั่งมีร่างนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ของ International Astronomical Union (IAU) ทำให้เทหวัตถุ 3 ชิ้นขึ้นแท่นเตรียมเป็นดาวเคราะห์ได้ในทันที

นิยามที่ว่าคือ 1.ดาวเคราะห์ต้องมีมวลมากพอที่จะทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงในตัวเอง ซึ่งทำให้กลายเป็นวัตถุแข็งรูปทรงค่อนข้างสมมาตรคล้ายทรงกลม และ 2. ต้องโคจรรอบดาวฤกษ์ โดยที่ตัวมันเองต้องไม่ใช่ดาวฤกษ์ และไม่เป็น satellite (วัตถุที่โคจรรอบวัตถุอื่น) ของดาวเคราะห์

ดาวเคราะห์ที่ถูกนับเพิ่ม ได้แก่ Ceres ซึ่งเดิมนับเป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่, Xena และ Charon โดยในกรณีของ Charon ที่เดิมนับเป็นดวงจันทร์ ก็ถูกนิยามใหม่เป็นดาวเคราะห์คู่ ร่วมกับพลูโต โดยดาวเคราะห์คู่ก็มีนิยามว่า เป็นการโคจรรอบกันและกัน โดยมีจุดศูนย์ถ่วงร่วม อยู่ในอวกาศ มิใช่อยู่ใต้พื้นผิวดาวดวงใดดวงหนึ่ง ถ้าเทียบกับดวงจันทร์ของโลกเรา แม้จะมีขนาดใหญ่จนมีแรงดึงดูดถึง 1 ใน 6 ของโลก มีรูปร่างค่อนข้างกลม แต่การโคจรนั้นไม่นับเป็นดาวเคราะห์คู่ เพราะจุดศูนย์ถ่วงร่วมอยู่ใต้พื้นผิวของโลกครับ นั่นคือดวงจันทร์นับเป็น satellite ของโลก

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีวัตถุอีก 12 ชิ้นที่เข้าคิวรอตรวจสอบว่าจะนับเป็นดาวเคราะห์ตาม "ร่าง" นิยามใหม่นี้หรือไม่

หากนิยามนี้ได้รับการประการอย่างเป็นทางการ ก็ต้องแก้ไขตำรากันทั่วโลกเลยละครับ

ย้ายบ้านใหม่ :-)

หลังจากจดโดเมนไว้ร่วมปี หยุดเขียน blog ที่ blogger.com ก็ร่วมปี ก็สบโอกาส ย้ายบ้านซะวันนี้ดีกว่า

  • โดเมน: จดกับ yahoo ตอนนั้นได้ราคา $4.95 มั๊ง เลยเหมาไว้ 5 ปี ตอนหลังมา มี $2.95 ด้วย เสียดายฉิบ

  • โฮสติ้ง: เช่าของ netfirms.com แชร์กับพื้นที่ของเว็บรุ่น comsc11.net และอื่นๆ อีก 2-3 เว็บ เหมาเยอะ ถูกกว่า แต่ก็นะ ยังใช้ไม่คุ้มเลย มีใครอยากแบ่งเช่าบ้าง ถูกๆ ครับ เสียอย่างเดียว อยู่ไกลถึงแคนาดา แต่โดยรวมก็เร็วดีนะ

  • ซอฟต์แวร์: wordpress พึ่งหัดใช้นี่แหละครับ ง่ายดี ชอบ รุ่นนี้มีดีตรงไปดูดเอาบล็อกเก่ามาได้นี่แหละ เลยดูดมาเก็บไว้ที่นี่ด้วย


เสียเงินหน่อย แต่ก็รู้สึกเป็นตัวของตัวเองดีครับ หวังว่าจะขยันเขียนขึ้นแหละครับ

วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549

ย้ายแล้วจ้า เจอกันที่ kamthorn.org

ดังนั้นโปรดอัพเดทบุ๊กมาร์ค ลิงก์ที่บล็อกของเพื่อนๆ ด้วยนะครับ
ส่วน feed ก็ http://kamthorn.org/?feed=rss2 ครับ