วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ลอง minefield 3.0a8pre บน Fedora 7.90

ตั้งแต่มีข่าวว่า minefield 3.0a8pre สนับสนุนการตัดคำบนแพลตฟอร์มต่าง ได้แก่ Linux, Windows และ Macintosh เลยอยากลองบน Fedora บ้าง เพราะตอนนี้กำลังรำคาญเวลาเปิดเว็บภาษาไทย แล้วบน Fedora ยังไม่ตัดคำ

วิธีติดตั้ง

$ su -
# cd /opt
# wget http://ftp.mozilla.org/pub/mozilla.org/firefox/nightly/latest-trunk/firefox-3.0a8pre.en-US.linux-i686.tar.bz2
# tar xjvf firefox-3.0a8pre.en-US.linux-i686.tar.bz2
# rm firefox-3.0a8pre.en-US.linux-i686.tar.bz2


สร้าง icon บน panel โดย

  1. คลิกขวาตรง panel ที่ต้องการวางไอคอน แล้วเลือก "Add to Panel ..."

  2. เลือก "Custom Application Launcher" แล้วกด "Add"

  3. จะปรากฎ dialog นี้ ให้กรอกข้อมูลต่างๆ ลงไปตามตัวอย่าง
    Firefox Launcher Dialog

  4. สำหรับ icon ปกติมันจะใส่โดยอัตโนมัติเป็น icon ของ firefox สามารถเปลี่ยนเป็น icon ของ minefield ได้โดยคลิกที่ปุ่ม icon แล้วบราวซ์ไปที่ /opt/firefox/icons จากนั้นก็เลือก mozicon128.png จะได้ icon ดังภาพ

  5. กดปุ่ม Close เป็นอันเสร็จ



เวลาจะใช้ ให้ปิด firefox เดิม ทั้งหมดก่อน แล้วค่อยคลิก icon ใหม่นี้ มิฉะนั้นมันจะเปิดเพจใหม่ของ firefox เก่า ถ้าอยากเปิดคู่กันได้ ให้เพิ่ม -no-remote ต่อท้ายในช่อง Command หรือจะเรียกด้วย command line ก็สั่ง
$ /opt/firefox/firefox -no-remote


ผลการทำงานคือ สามารถตัดคำได้จริงๆ แถมยังแก้ปัญหาเรื่อง justify สำหรับ CTL ไปแล้วด้วย ดังตัวอย่าง
Thai Justify

หรือจะทดสอบที่หน้านี้ก็ได้ http://kamthorn.org/test/justify

นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกติดตั้ง Swiftfox Trunk หรือ Swiftweasel Trunk ก็ได้ สองตัวนี้ก็คือ firefox เวอร์ชันคอมไพล์ใหม่ ให้ optimize กับ CPU รุ่นต่างๆ นั่นเอง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้ UPS

เมื่อกลางปี 47 ซื้อ UPS มาตัวนึง เพราะตอนนั้นที่บ้านมีปัญหาไฟฟ้าดับบ่อย เห็นมีขายที่ IT City ลดราคา ตัวละไม่ถึง 2,000 บาทมั้ง 750 VA ก็คิดว่าเยอะละ ใช้ได้ราวเกือบ 2 ปี ถึงรู้ว่า batt. เสื่อม ก็ซื้อเฉพาะ batt. มาเปลี่ยนเลือกขนาดเท่ากัน 12V เท่ากัน แต่เพิ่มจาก 7.2AHr เป็น 9AHr เผื่อจะอยู่ได้นานขึ้น ก็ใช้มาได้ซักปีนึงแหละ ไม่รู้แบตเสื่อมไปตอนไหน ไฟดับปุ๊บ ก็ดับเลย

ตอนนั้นเรียกว่าซื้อแบบไม่รู้อะไรเลย มารู้ทีหลังว่า มันมีเรื่อง power factor ด้วย พวก UPS ถูกๆ จะมีค่า power factor แค่ 0.4-0.5 เอง แบบดีหน่อย จะเป็น 0.6 มากกว่านี้จะไม่ค่อยมีแล้ว ค่า power factor ส่วนมากจะไม่ได้บอกไว้ แต่ถ้าเป็นร้านไอทีใหญ่ๆ ก็สามารถถามพนักงานขายได้ หรือดูง่ายๆ ก็ดูว่า (watt. ที่จ่ายได้จริง/VA) เป็นเท่าไหร่ เช่นบางตัว 750 VA แต่จ่ายไฟได้แค่ 300 watt. ก็แสดงว่ามี power factor = 300/750 = 0.4 นั่นแหละครับ UPS ที่ผมใช้

ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด power factor ก็มีผลคือ ทำให้เปลืองไฟฟ้ามากขึ้น ถ้ามี power factor ต่ำๆ เช่น ถ้า power factor = 0.4 ก็แสดงว่า เมื่อต่อ ups จะทำให้กินไฟมากขึ้นกว่าเดิม 2.5 เท่า?!?

อีกเรื่องคือ อย่าไปซื้อแบบ noname เลย ของผมซื้อที่ IT City แต่พอแบตตัวแรกเสื่อม ไปถามซื้อแบตที่ IT City เค้าบอกไม่รู้จักยี่ห้อนี้ (อ้าว?) คือตอนหลังเค้าเน้นขายพวกยี่ห้อไปเลย เช่น PCM, Leonics เลยบอกว่าสงสัยจะเปลี่ยนไม่ได้ แล้วเชียร์ให้ซื้อใหม่ ตัวละเกือบ 3,000 แต่เราไม่โง่ (จริงๆ คือจน) เลยไปหาซื้อแบตที่ณัฐพงษ์ 512 บาทแทน อีกอย่างคือ ups แบบ noname โดยเฉพาะที่ประกอบมาจากจีน มักจะมี power factor ต่ำ ประมาณ 0.4 ทั้งนั้น อย่าเห็นแก่ของถูก ที่ถูกลงพันเดียว แต่ต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มขึ้นเดือนละหลายร้อย ปีหนึ่งก็หลายพัน

อีกปัญหาหนึ่งคือ ตัวที่ผมใช้ มันมีไฟบอกสถานะแบตด้วย แต่พอมันเสื่อมจริงๆ กลับไม่เตือน เลยไม่รู้ว่ามันเสื่อมตั้งแต่เมื่อไหร่ มารู้เอาตอนไฟดับนี่แหละ

เมื่อวานไปเดินเซียร์ (อีกแล้ว) ต้องตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนแบตใหม่ หรือซื้อ UPS ใหม่ดี ราคาเปลี่ยนแบตตอนนี้อยู่ที่ ประมาณ 5xx บาท แต่นึกถึงค่าไฟแล้วเลยเดินไปดู UPS ใหม่ดีกว่า มีจัดรายการลดราคาอยู่ ของ PCM 525 VA จ่ายไฟได้จริง 315 watt. ค่า power factor = 0.6 ราคา 2,990 บาท ตัวนี้น่าสนใจ มีบอกสถานะต่างๆ ครบดี ถ้าอีกรุ่น ลดไฟ + ตัวเลขบอกสถานะลง ก็เหลือ 2,7xx บาท ไม่เลวๆ

แต่มานึกถึงความจำเป็นในการใช้ UPS แล้ว ก็มาคิดได้ว่า คงไม่ค่อยจำเป็นแล้วละ เพราะที่หอพักปัจจุบัน ไม่ค่อยมีปัญหาไฟดับ และอีกอย่าง ไม่ค่อยได้ใช้งานมันมากเหมือนก่อนนี้แล้ว ส่วนใหญ่ใช้แลปท็อปมากกว่า เลยตัวสินใจว่า ไม่ซื้อดีกว่า ไม่ใช้แล้ว ต่อตรงๆ ไปเลย แล้วเดี๋ยวปรับ file system ให้มันปลอดภัยมากขึ้นอีก (เอ ใส่ option sync เลยจะดีไหมหว่า อิๆ)

ก็แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละคนละครับ ถ้าเป็น server แน่นอน มันจำเป็น สำหรับบางเครื่องที่ใช้กับงานที่ต้องการความ stable สูงๆ ก็จงใช้ เพียงแต่ขอให้เลือกตัวที่มี power factor สูงๆ ครับ (0.6 ขึ้นไป) ถ้าใช้ที่บ้าน แค่ไว้เล่นเกม เล่นเน็ต ไม่มีงานซีเรียสอะไรมาก หรือให้ห้องแล็บนักศึกษา ก็อย่าไปติดให้เสียค่าไฟเล่นเลยครับ

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ตามหา Virtual Host Control Panel แบบ Open Source

ช่วงนี้ ยามว่างๆ จะตามหา control panel เจ๋งๆ อยู่ ก็พวก panel สำหรับให้บริการเว็บโฮสติ้งแบบ virtual host นั่นแหละ ทำนองเดียวกับพวก cPanel แต่เน้นที่เป็น open source และใช้บน debian gnu/linux (โดยเฉพาะ etch) ได้ และต้องใช้กับโฮสต์ที่บริการ PHP5 ได้ด้วย

เคยลอง gnupanel ไปทีนึง ไม่ค่อยประทับใจ โดยเฉพาะโค้ดแกะยากมาก ตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษา spain อ่านไม่เข้าใจ comment ก็ภาษา spain อีก สุดท้ายก็เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้ ispconfig ก็ดูดีนะ แต่ยังไม่ถูกใจผู้ใช้ บอกว่าใช้ยากไป ไม่เหมือน panel อื่นๆ

หลายคนแนะนำ VHCS เข้าไปดูเว็บเค้าละ แต่ห่วงว่าจะใช้กับ PHP5 ได้หรือไม่ และอีกอย่างที่ห่วงคือ ซอฟต์แวร์ตัวนี้ไม่มีอัพเดทมาปีครึ่งแล้ว ไม่แน่ใจว่าอนาคตยังดีอยู่หรือไม่ และก็พึ่งไปพบตัวที่เป็น fork ของ VHCS อีก 2 ตัว คือ VHCP และ ISPCP แต่ยังไม่ออกตัวจริงทั้งคู่ แล้วก็อื่นๆ ก็มี WEB-CP กับ SysCP ตัวหลังนี่หน้าตาธรรมดา แต่มีคนใช้เยอะดีเหมือนกัน ดูค่อนข้าง stable ดี

เดี๋ยวขอไปลองให้หมดก่อน ค่อยมาตัดสินใจอีกที

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550

โพสต์บล็อก จาก gnome-blog-poster

วันนี้ลองติดตั้ง Fedora 8 Test 1 (7.90) เห็นมีโปรแกรม gnome-blog-poster ด้วย เลยลองใช้ดู อืมม พึ่งเคยลองใช้ xmlrpc โดยถ้าใช้ wordpress ก็อ้าง url ของ xmlrpc ด้วย base_url + xmlrpc.php ได้เลย เช่น wordpress ติดตั้งที่ http://blog.mysite.com/ ก็อ้าง url ของ xmlrpc เป็น http://blog.mysite.com/xmlrpc.php ได้เลย

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Setting up apache2-mpm-worker, mod-fcgid, php5-cgi on Debian Etch

เคยเจอปัญหาเว็บเซิร์ฟเวอร์เมื่อมีคนเข้าใช้เยอะๆ แล้วช้าลงมากๆ ไหม ทั้งๆ ที่ซีพียูก็แรง แรมก็มีไม่น้อย ปัญหามักจะเกิดขึ้นเมื่อเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นมี mod-php และบางครั้งมีไฟล์ static ใหญ่ๆ เช่นภาพถ่าย วิดีโอ ไฟล์พรีเซนต์ ไฟล์ดาวน์โหลดต่างๆ ให้ดาวน์โหลดผ่าน http

ปัญหามักเกิดจาก เมื่อเราใช้ mod-php ก็ต้องใช้ apache ที่ใช้ mpm-prefork ด้วย นั่นคือเมื่อมี connection เข้ามา apache ต้อง fork process เพื่อให้บริการ connection นั้นเป็นรายๆ ไป ปัญหาคือว่า mod-php ทำให้แต่ละ process มีขนาดใหญ่มาก ยิ่งเว็บแอ็พที่ใช้มีขนาดใหญ่ ยิ่งทำให้แต่ละ process ใหญ่เข้าไปอีก ปัญหาจะหนักขึ้น เมื่อต้องให้บริการดาวน์โหลดไฟล์ หรือมีรูปภาพจำนวนมากบนเว็บไซต์ด้วย เพราะแม้ว่าพวกนี้จะไม่ต้องการซีพียูในการประมวลผลมากนัก แต่การที่ apache ต้อง fork process มาเพื่อให้บริการไฟล์พวกนี้ ก็ทำให้ต้องเสีย memory มากขึ้นไปอีก ยิ่งเน็ตเวิร์คของไคลเอนต์ช้า ยิ่งทำให้ต้องใช้เวลาดาวน์โหลดนาน จะพบว่า จำนวน connection มีมากขึ้นเรื่อยๆ